ตัวอย่างโครงงาน

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง  การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Wordpress

ความเป็นมาของโครงงาน   การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Wordpress นําเอารูปแบบการเรียนรู้ยุคใหม่ที่ใช้สื่อสังคม หรือ Social Media ซึ่งเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน มาประยุกต์เข้ากับการเรียนรู้ โดยได้ศึกษารูปแบบและพัฒนาการเรียนรู้ในการจัดสร้างเว็บบล็อกด้วยเว็บไซต์สําเร็จรูปชื่อว่า Wordpress


วัตถุประสงค์ ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วยWordpressเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ 
2.เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ 
3.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบของเว็บบล็อกจากWordpressได้ด้วยตนเองและนํามาประยุกต์ใช้ให้
เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น 
4.เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครูเพื่อนและผู้สนใจทั่วไป 

ขอบเขตของโครงงาน 
1. จัดทําโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Wordpressเรื่องประเภขของ
คอมพิวเตอร์ 
2. วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ 
- เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
- เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ www.wordpress.com 
- เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเช่น www.facebook.comwww.hotmail.comwww.google.com 
- โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพเช่นAdobe Photoshop CS4 และ PhotoScape2.0

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
ศึกษาเอกสารและจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังต่อไปนี้ 
1. ความสําคัญของคอมพิวเตอร์ 
2. ข้อมูลเกี่ยวกับของคอมพิวเตอร์ 
3. เว็บบล็อก (WebBlog)


วิธีด าเนินงานโครงงาน 
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนําเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน 
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ ว่ามี
เนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทํา
เนื้อหาต่อไป 
3. ศึกษาการสร้างเว็บบล็อกที่สร้างจากเว็บไซต์ Wordpress จากเอกสารที่ครูประจําวิชากําหนด 
และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นําเสนอเทคนิค วิธีการสร้างเว็บบล็อก 
4. จัดทําโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนําเสนอครูที่ปรึกษาผ่านเว็บบล็อกของตัวเอง โดย
ได้นําไฟล์ข้อมูลไปฝากไว้ที่เว็บไซต์ชื่อ http://www.slideshare.net 
5. ปฏิบัติการจัดทําโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Wordpress 
เรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ โดยการสมัครสมาชิก และสร้างบทเรียนที่สนใจตามแบบเสนอโครงร่างที่

ผลการดําเนินงานโครงงาน 
                 การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Wordpressเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์นี้ ผู้จัดทําได้เริ่ม
 ดําเนินงานตามขั้นตอนการดําเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ
http://www.wordpress.com จากนั้นได้นําเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้
ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นําเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อhttp://nuttapongko.wordpress.comซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อ
สังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์facebook ของผู้จัดทําที่ชื่อ http://www.facebook.com/
อัศวินปุตตาปวนทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดีโดยทั้ง
ครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและ
รูปแบบของการนําเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทําให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่าง
หลากหลายและรวดเร็ว 

สรุปผลการด าเนินงานโครงงาน 
              การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) ด้วย Wordpressเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์นี้ ผู้จัดทําได้เริ่ม
ดําเนินงานตามขั้นตอนการดําเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ
http://www.wordpress.com จากนั้นได้นําเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นําเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อhttp://nuttapongko.wordpress.com ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์facebook ของผู้จัดทําที่ชื่อ http://www.facebook.com/อัศวิน ปุตตาปวนทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดีโดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนําเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทําให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
ข้อเสนอแนะทั่วไป 
1. เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ Wordpressเป็นเว็บบล็อกสําเร็จรูปที่ใช้ทํา
เว็บไซต์ได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์และได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นผู้จัดทําควรเผยแพร่สิ่งที่ดี ๆ ให้บุคคลที่เข้ามา
เยี่ยมหรือศึกษาได้ความรู้และสิ่งดี ๆ นําไปเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่นมาศึกษาความรู้ 
ที่เป็นประโยชน์ต่อไป 
2. ควรมีการจัดทําเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระ 
การเรียนรู้ 
3. ควรมีการจัดทําแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มเติม 
-ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา 
-เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทําโครงงาน และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมี
ปัญหา เข้าพร้อมกันก็จะทําให้ช้า จึงทําให้การพัฒนาเว็บบล็อกเกิดความล่าช้าตามไปด้วย 
- เพื่อนนักเรียนบางคนเรียนรู้การพัฒนาเว็บบล็อกค่อนข้างช้า ทําให้ต้องเสียเวลาใน
การเรียนรู้ เพราะครูผู้สอนไม่สามารถสอนเนื้อหาเพิ่มเติมได้ 


เอกสารอ้างอิง
WordPressคือ อะไร
http://www.nampheung.com/1032/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1
%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8
%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-wordpress.html 
ที่มาของ wordpresshttp://wordpress.9supawat.com/10/what-is-wordpress.html 
ความสําคัญของคอมพิวเตอร์http://www.thaigoodview.com/node/91664 
ความหมายของคอมพิวเตอร์ 
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/intro.htm 
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของ คอมพิวเตอร์ 
http://www.sanambin.com 
http://www.wikipedia.com 
ประเภทของคอมพิวเตอร์ 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8
%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C 
เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก 
http://book.manacomputers.com/free-make-blog-list-and-adsense/ 
ประเภทของเว็บบล็อก 
http://jingjai-21.blogspot.com/2007/09/blog_7483.html 
ความหมายของเว็บบล็อก 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81 

โครงงาน อยากเก่งภาษาอังกฤษทำไงดี?

ชื่อโครงงาน    อยากเก่งภาษาอังกฤษทำไงดี?

กลุ่มที่ 5   

ชื่อสมาชิกกลุ่ม
1.นายธิติ           วรศรีวิศาล              เลขที่9  ห้อง5/11
2.นางสาวกมลวรรณ   ช่วยชู           เลขที่ 27  ห้อง5/11
3.นางสาวสุภัสสร    ชลีกรณ์ชูวงศ์  เลขที่32  ห้อง5/11

วิธีดำเนินการ
1.ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิธีการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง  รวมทั้งเทคนิคและเคล็ดลับต่างๆ และรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุดเพื่อนำไปสร้างWeb Blog รายบุคคลและแบบสอบถามออนไลน์ และนำข้อมูลไปวางไปใช้ทำผลงาน
2.ศึกษาและเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับการนำไปใช้ทำผลงาน
3.วางแผนงานทำโครงงานและจัดเตรียมอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับใช้ในการทำวิดีโอสื่อการเรียนการสอน
4.ทำตามแผนเค้าโครงงาน  เขียน Storyboard ,เขียนเป็นบทพูด  ดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3....
5.เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟลดนตรี
6. ตัดต่องานวิดีโอ   นำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นวิดีโอสื่อการเรียนการสอน โดยทำเป็นทีละตอนๆซึ่งแต่ละตอนนำมาทำวิดีโอความยาวไม่เกิน4นาที
7.บันทึกเสียง ตัดต่อใส่เสียง และใส่เอ็ฟเฟ็กต์ ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแด่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
8.แปลงวิดีโอ   อาจทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต,Web Blog  หรืออัพโหลดในYoutube

ผลการดำเนินการ 
จากการทำโครงงานเรื่องอยากเก่งภาษาอังกฤษทำไงดีซึ่งเป็นวิดีโอสื่อการเรียนการสอน เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้ว ศึกษาและเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับการนำไปใช้ทำผลงาน เขียน Storyboard เขียนบทพูด  เขียนออกมาเป็นฉาก  และการตัดต่อวิดีโอซึ่งเลือกใช้โปรแกรม สำหรับการตัดต่อวิดีโอทางคณะผู้จัดทำได้เลือกใช้โปรแกรม Ulead video studio 11  ซึ่งเป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่มีการใช้งานไม่ยากจนเกินไป แม้แต่ผู้ที่เริ่มใช้งานก็สามารถที่จะสร้างวีดีโอได้ง่ายๆ เหมือนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตัดต่อวีดีโอมานาน    ก่อนอื่นเมื่อเราติดตั้งโปรแกรมแล้ว ก็เปิดการใช้งาน  เลือกที่ VideoStudio Editor เพื่อสร้างไฟล์วีดีโอ เลือกไฟล์ที่ต้องการใส่ในวีดีโอหากต้องการใส่เพลงให้กับวีดีโอ ก็ให้ Right Click แล้วเลือกแนบไฟล์ Audioหมั่นเซฟไฟล์โปรเจคเป็นระยะๆ เพื่อว่าหากมีข้อขัดข้อง โปรแกรมไม่ทำงาน เรายังสามารถเรียกงานเดิมกลับมาทำใหม่ได้ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่นอกจากไฟล์ภาพแล้ว ยังสามารถแนบไฟล์วีดีโอ มาสร้างไฟล์ร่วมกันได้จากนั้นเป็นการปรับแต่งไฟล์วีดีโอที่จะทำ Effect : การใส่แอนนิเมชั่นให้รูปภาพและไฟล์วีดีโอยังมีอีเฟคต่างๆ ให้เลือกตามที่ต้องการ ส่วนนี้คือการปรับแต่งฟอนต์ และอีเฟคต่างๆ ของข้อความ การปรับแต่งแอนนิเมชั่นของกล่องข้อความ  Audio : การปรับแต่งไฟล์ออดิโอของวีดีโอเป็นการปรับแต่งต่างๆ ให้กับไฟล์เสียง เช่น ปรับเสียง หรืออีเฟคอื่นๆ เพิ่มเติม (สามารถค่อยๆ ศึกษาต่อภายหลัง)การสร้างไฟล์วีดีโอ คลิ้กที่ Share เพื่อสร้างไฟล์หลังจากนั้นก็ปล่อยให้โปรแกรมเรนเดอร์ไฟล์วีดีโอ (สร้างไฟล์วีดีโอ) ในระหว่างนี้ ไม่ควรเปิดโปรแกรมอื่นๆ มาใช้งาน เพื่อว่าจะได้ไฟล์ที่มีคุณภาพดีที่สุด
       ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ  เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้ คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้ วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอนการจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้อีกด้วย
         เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD

แหล่งเรียนรู้เรียนรู้จาก

-http://software.thaiware.com/5172-SMRecorder.html
-http://www.youtube.com/watch?v=eFtDlP-DuC8
- http://poccom19.wix.com/poccomtuktuk#!untitled/c1m9x
-http://ponpimonnamdee.blogspot.com/p/ulead-video-studio_4232.html
-http://xn--42cfif5cxctbu2bzdce3dwbzoued2g.com
-http://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/viewFile/272/218
-http://www.thaigoodview.com/node/92343

หลักฐานประกอบ






หลักการในการเริ่มต้นพูดภาษาอังกฤษ


หลักการในการเริ่มต้นพูดภาษาอังกฤษ  นั้น จะต้องเริ่มมาจากสิ่งต่อไปนี้

1.  ความมั่นใจในการพูด    หากคุณมีเด็กเล็ก..น้องๆ หรือหลานๆ ในบ้านคุณ  คุณจะเห็นได้ชัดว่าแม้แต่เด็กเล็กยังต้องการความมั่นใจในการเริ่มต้นพูด  เขาจะฟังคุณแม่ที่คอยกระตุ้นให้เขาพูด  แต่ยังไม่ยอมพูดจนกว่าเขาจะมั่นใจว่า  สิ่งที่คุณแม่สอนนั้น เขาเข้าใจได้ถูกต้อง เช่น ชี้คุณพ่อได้ถูกต้อง เมื่อคุณแม่ถามว่าคุณพ่ออยู่ไหน เป็นการทดสอบก่อนว่าสิ่งที่ได้ฟังมานั้นเข้าใจถูกหรือไม่ หากได้รับคำชมจากคุณแม่ หลังจากนั้นไม่นานคุณจะพบว่าเขาจะเริ่มเรียก “พ่อ” ตามสำเนียงของเขาได้  นั่นคือ ประสบการณ์ของเขาสอนให้เขารู้ว่า หากเขามีความมั่นใจแล้วและพูดออกมาได้ถูกต้อง เขาจะได้รับคำชม
ในทางกลับกัน  หากเขาพูดผิด และผู้ใหญ่หัวเราะด้วยความเอ็นดู แต่เมื่อเด็กรู้สึกอายแล้ว สมองก็จะสั่งไม่ให้เขาพูด เขาก็จะไม่ยอมพูดออกมาจนกว่าจะมีความมั่นใจอีกครั้ง ดังนั้นคุณไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจิตใต้สำนึกของเราจึงสั่งให้เราเดินหนีฝรั่ง เมื่อเราไม่มั่นใจ เราจึงควรสร้างความมั่นใจด้วยการฝึกฝนเองหรือให้ครูที่มีประสบการณ์ในการสอน หรือมีจิตวิทยาในการสอน มาช่วยสอนภาษาอังกฤษให้



2.  ความรู้ในสิ่งที่เราจะพูด  สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ  หากเราสามารถพูดได้ แต่ไม่มีความรู้ในสิ่งที่เขากำลังคุยกันอยู่  เราก็ใบ้ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรอ่านหนังสือที่เป็นความรู้รอบตัว หรือหากเรามีความจำเป็นที่จะต้องพูดภาษาอังกฤษเรา ก็ควรจะหาข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งนั้น ที่เป็นภาษาอังกฤษ แล้วเตรียมดูคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง หรือหาครูภาษาอังกฤษมาช่วยสอนให้  เป็นการเตรียมการเพิ่มเติมความรู้ในสิ่งที่เราอาจจะต้องพูด



3.  การใช้คำที่เหมาะสม  หากคุณเคยพูดภาษาอังกฤษเล่นๆกับเพื่อน พูดถูกบ้างผิดบ้าง  เพื่อนก็เข้าใจคุณ  และคุณก็ไม่ได้ศึกษาว่าคำภาษาอังกฤษคำนี้เหมาะสมหรือไม่  หาก จะใช้กับแขกต่างประเทศหรือใช้ในที่ทำงาน  ถึงเวลาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษแบบเป็นทางการ  คุณก็ใบ้ได้อีกเช่นกันว่าเราควรจะพูดประโยคนี้ดีหรือไม่ เหมาะสมหรือเปล่า เป็นภาษาที่เขาใช้ในสังคมหรือไม่


ฝึกภาษาอังกฤษนอกตำรากันเถอะ และกฏ 10ข้อให้เก่งอังกฤษ





         ตามตำราภาษาอังกฤษ ที่คนไทยเรียนตั้งแต่เด็ก สอนให้คุณ ใช้คำว่า
 "How are you?" ในการทักว่า "สบายดีหรือ" ถูกมั๊ยครับ แต่ผมถามหน่อยว่า เวลาคนไทยทักกัน เราพูดคำว่า สบายดีหรือ? จริงๆบ่อยแค่ไหน ความจริงแทบไม่ได้พูดแบบนั้นกันด้วยซ้ำ สมัยนี้
เพราะทุกวันที่เราได้ยิน ก็จะทักกันว่า "ว่าไง"    "เป็นยังไงบ้าง"

ภาษาอังกฤษก็เหมือนกันครับ ฝรั่งพูด How are you? ฟังดูค่อนข้างเชยๆ เพราะคนอเมริกัน ทักจริงๆจะพูดว่า "How's it going?", "How are you doing" หรือ"What's up?" พวกนี้บ่อยกว่ามาก

     ฉะนั้นผมอยากสรุปว่า ภาษาอังกฤษที่เราเรียนจากตำรา ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่เราจะเจอในชีวิตจริงเสมอไป  สิ่งที่เราจะเรียนรู้ได้ คือต้องขวนขวาย หาจากข้างนอกเอาเอง

     การเรียนภาษาอังกฤษ ในระบบการศึกษาไทย ยังให้เด็กอ่านแต่แกรมมาร์เป็นส่วนมาก หรือท่องกริยาสามช่อง เพื่อมาสอบ แต่ความเห็นของผม ผมคิดว่าการที่จะให้เราเก่งภาษาอังกฤษได้เร็วกว่านั้น คือต้องเริ่มต้นที่การฟัง และเก็บเกี่ยวคำศัพท์ ยิ่งเราฟังมากๆ เราก็จะได้ฝึกทั้งการฟัง และพูดไปในทีเดียว เพราะเราสามารถเลียนเสียงฝรั่งจากที่ได้ยินได้ รวมทั้งคลังคำศัพท์ในสมองของเราก็สำคัญมาก  ถ้าคุณรู้ศัพท์น้อย คุณจะฟังจะอ่านยังไง ก็ไม่เข้าใจความหมาย แล้วอย่างนั้นเราจะพูดจะเขียนออกมาได้อย่างไร

เวลาผมเขียนบลอคนี้ ผมชอบเขียนพร้อมวิดีโอหรือไฟล์เสียงให้ฟังด้วยเป็นส่วนมาก ถ้าคนที่ติดตามอยู่ ก็จะสังเกตุได้ ว่าบางทีผมเอาจากตัวอย่างหนังมาสอน  หลายวันก่อนผมไปอ่านหนังสือที่ TK Park (ถ้าว่างก็จะชอบไปที่นี่) ผมก็ไปเจอหนังสือของคุณ Andrew Bigg เล่มนึง คิดว่าเป็น pocket book เล่มแรกแต่จำหน้าปกไม่ได้แล้ว เล่มนั้นเป็น กฏ 10 ข้อ ในการฝึกภาษาอังกฤษครับ ผมจะเอามาบอกต่อ พร้อมอธิบายสั้นๆให้

10 Rules by Andrew Bigg กฏ 10 ข้อ

ข้อ 1. Forget the rule ลืมกฏซะ
นั่นคือเวลาเราพูดภาษาอังกฤษ อย่าไปพะวงเรื่องของภาษาเราจะไม่ถูกไวยากรณ์ หรือใช้กริยาผิดช่อง เพราะฝรั่งเขาไม่เข้มงวดเรื่องนี้เองเลย

ข้อ 2. Make mistake พูดผิดซะ
พูดไปเถอะครับ ไม่ต้องกลัวผิด ถ้าเราผิดฝรั่งเขาก็เข้าใจครับว่าภาษาอังกฤษเป็น ภาษาที่ 2 ของเรา เขายังยินดีช่วยแก้ให้คุณได้ ถ้าเค้าไม่แก้ให้คุณก็อย่าไปคบเขาเลย

ข้อ 3. Don't translate อย่าแปลตรงตัว
ใช่ครับภาษาไทยกับอังกฤษ ไม่เหมือนกัน ห้ามไปแปลตรงตัวเช่นบอกว่า ภาษาอังกฤษของผม งูๆปลาๆ My english is snake snake fish fish พูดแบบนี้ฝรั่งงงแน่ๆครับ หรือบอกให้เปิดทีวีว่า open the TV อันนี้ผิดอย่างแรง เครื่องใช้ไฟฟ้าเค้าต้องพูดว่า turn on the TV นะ

ข้อ 4. Keep it simple ใช้ภาษาง่ายๆ
ใช่เลย จะพูดอังกฤษ คนไทยบางคนต้องคิดเอาให้ภาษาตัวเองดูไฮโซ พยายามใช้คำยากๆแทน เช่นจะไปกินข้าวที่บ้าน I'm going to dine at my house ไม่รู้จะใช้คำนี้ทำไมครับ ใช้ eat สิครับ จบ

ข้อ 5. Could you please slow down กรุณาพูดช้าๆหน่อย
คนไทยเป็นโรคขี้เกรงใจ หรือ หน้าแตก ครับ ฟังฝรั่งไม่เข้าใจ ก็ยังฟังต่อไป ไม่บอกให้เขารู้ว่าเราไม่เข้าใจ พอเป็นแบบนี้ก็เกิดความเข้าใจผิดทีหลัง หรือเขาสั่งงานมาเราก็ทำไม่ได้เพราะฟังไม่เข้าใจ ไม่ต้องกลัวครับถ้าฟังไม่ทัน ก็ขอให้เขาพูดช้าๆลงหน่อย

ข้อ 6. Relax ทำตัวสบายๆ
คนไทยเป็นโรคเกร็งเวลาคุยกับฝรั่ง หลายคน ไม่ต้องกลัวครับฝรั่งไม่ใช่ยักษ์ใช่มารที่ไหน เวลาคุยกับเขา ก็หักเป็นฝ่ายซักถามหรือชวนคุยไปเลยครับ เราจะได้ผูกมิตรกับเขา แล้วหมดโรคกลัวนี้ไปได้

ข้อ 7. Listen and Copy ฟังแล้วเลียนแบบ
ผมสนับสนุนมากๆครับ คือฝึกภาษา เราต้องหัดฟังแล้วเลียนแบบ และวิธีที่ดีที่สุดที่ผมชอบคือ ฝึกภาษาอังกฤษจากหนังนั่นแหละ ฝึกฟังแล้วเลียนแบบ เราจะได้ออกเสียงเป็น เผลอๆสำเนียงดีไปในตัวด้วย จะฝึกคำหยาบ คำสบถก็ทำไปเถอะ ถ้ามันช่วยคุณได้

ข้อ 8. Guess เดา
บางครั้งเวลาอ่านภาษาอังกฤษ แล้วเราไม่เข้าใจคำศัพท์ ผมมีวิธี ที่ผมเองก็ทำประจำ คือ เดาครับ อ่านหาใจความโดยรวมของเรื่องที่เราอ่าน บางครั้งเจอคำยากๆ เราก็ลองเดาว่ามันแปลว่าอะไร

ข้อ 9. Give yourself time ให้เวลากับตัวเอง
หมายถึงให้เวลากับตัวเองในการฝึกภาษาอังกฤษ จะบ่อยจะถี่แค่ไหนก็ขึ้นกับตัวเรา ไม่ใช่เห็นภาษาอังกฤษเป็นเรื่องน่าเบื่อ ก็ไม่สนใจที่จะขวนขวายหรือเรียนรู้ การมาอ่านบลอคของผม วันสองวันต่อครั้ง ก็ถือว่าคุณแบ่งเวลาตัวเองนิดเดียวไม่กี่นาทีในการฝึกภาษาอังกฤษเหมือนกัน

ข้อ 10. Read read read อ่าน อ่าน และก็อ่าน
ข้อสุดท้ายคือหัดอ่านอะเป็นภาษาอังกฤษเยอะๆ เราจะได้ภาษาเข้ามาให้หัว จนบางทีเก่งขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ตัวผมเรียนในมหาวิทยาลัยอินเตอร์ ผมอ่าน textbook ทั้งเล่มมาแล้วก็มี สิ่งที่ผมได้ ผมได้ทั้งคำศัพท์เฉพาะทางก็มีเยอะแยะ

ข้อโบนัสแถม Find a foreign friend หาเพื่อนฝรั่ง
มีเพื่อนฝรั่ง ทำให้เราได้ฝึกใช้ภาษา และมีครูที่แนะเราได้อยู่ใกล้ตัว ถ้าให้ดีและได้ผลดีที่สุดนะครับ หาแฟนฝรั่งเลยมั๊ย