หลักการในการเริ่มต้นพูดภาษาอังกฤษ


หลักการในการเริ่มต้นพูดภาษาอังกฤษ  นั้น จะต้องเริ่มมาจากสิ่งต่อไปนี้

1.  ความมั่นใจในการพูด    หากคุณมีเด็กเล็ก..น้องๆ หรือหลานๆ ในบ้านคุณ  คุณจะเห็นได้ชัดว่าแม้แต่เด็กเล็กยังต้องการความมั่นใจในการเริ่มต้นพูด  เขาจะฟังคุณแม่ที่คอยกระตุ้นให้เขาพูด  แต่ยังไม่ยอมพูดจนกว่าเขาจะมั่นใจว่า  สิ่งที่คุณแม่สอนนั้น เขาเข้าใจได้ถูกต้อง เช่น ชี้คุณพ่อได้ถูกต้อง เมื่อคุณแม่ถามว่าคุณพ่ออยู่ไหน เป็นการทดสอบก่อนว่าสิ่งที่ได้ฟังมานั้นเข้าใจถูกหรือไม่ หากได้รับคำชมจากคุณแม่ หลังจากนั้นไม่นานคุณจะพบว่าเขาจะเริ่มเรียก “พ่อ” ตามสำเนียงของเขาได้  นั่นคือ ประสบการณ์ของเขาสอนให้เขารู้ว่า หากเขามีความมั่นใจแล้วและพูดออกมาได้ถูกต้อง เขาจะได้รับคำชม
ในทางกลับกัน  หากเขาพูดผิด และผู้ใหญ่หัวเราะด้วยความเอ็นดู แต่เมื่อเด็กรู้สึกอายแล้ว สมองก็จะสั่งไม่ให้เขาพูด เขาก็จะไม่ยอมพูดออกมาจนกว่าจะมีความมั่นใจอีกครั้ง ดังนั้นคุณไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจิตใต้สำนึกของเราจึงสั่งให้เราเดินหนีฝรั่ง เมื่อเราไม่มั่นใจ เราจึงควรสร้างความมั่นใจด้วยการฝึกฝนเองหรือให้ครูที่มีประสบการณ์ในการสอน หรือมีจิตวิทยาในการสอน มาช่วยสอนภาษาอังกฤษให้



2.  ความรู้ในสิ่งที่เราจะพูด  สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ  หากเราสามารถพูดได้ แต่ไม่มีความรู้ในสิ่งที่เขากำลังคุยกันอยู่  เราก็ใบ้ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรอ่านหนังสือที่เป็นความรู้รอบตัว หรือหากเรามีความจำเป็นที่จะต้องพูดภาษาอังกฤษเรา ก็ควรจะหาข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งนั้น ที่เป็นภาษาอังกฤษ แล้วเตรียมดูคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง หรือหาครูภาษาอังกฤษมาช่วยสอนให้  เป็นการเตรียมการเพิ่มเติมความรู้ในสิ่งที่เราอาจจะต้องพูด



3.  การใช้คำที่เหมาะสม  หากคุณเคยพูดภาษาอังกฤษเล่นๆกับเพื่อน พูดถูกบ้างผิดบ้าง  เพื่อนก็เข้าใจคุณ  และคุณก็ไม่ได้ศึกษาว่าคำภาษาอังกฤษคำนี้เหมาะสมหรือไม่  หาก จะใช้กับแขกต่างประเทศหรือใช้ในที่ทำงาน  ถึงเวลาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษแบบเป็นทางการ  คุณก็ใบ้ได้อีกเช่นกันว่าเราควรจะพูดประโยคนี้ดีหรือไม่ เหมาะสมหรือเปล่า เป็นภาษาที่เขาใช้ในสังคมหรือไม่


ฝึกภาษาอังกฤษนอกตำรากันเถอะ และกฏ 10ข้อให้เก่งอังกฤษ





         ตามตำราภาษาอังกฤษ ที่คนไทยเรียนตั้งแต่เด็ก สอนให้คุณ ใช้คำว่า
 "How are you?" ในการทักว่า "สบายดีหรือ" ถูกมั๊ยครับ แต่ผมถามหน่อยว่า เวลาคนไทยทักกัน เราพูดคำว่า สบายดีหรือ? จริงๆบ่อยแค่ไหน ความจริงแทบไม่ได้พูดแบบนั้นกันด้วยซ้ำ สมัยนี้
เพราะทุกวันที่เราได้ยิน ก็จะทักกันว่า "ว่าไง"    "เป็นยังไงบ้าง"

ภาษาอังกฤษก็เหมือนกันครับ ฝรั่งพูด How are you? ฟังดูค่อนข้างเชยๆ เพราะคนอเมริกัน ทักจริงๆจะพูดว่า "How's it going?", "How are you doing" หรือ"What's up?" พวกนี้บ่อยกว่ามาก

     ฉะนั้นผมอยากสรุปว่า ภาษาอังกฤษที่เราเรียนจากตำรา ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่เราจะเจอในชีวิตจริงเสมอไป  สิ่งที่เราจะเรียนรู้ได้ คือต้องขวนขวาย หาจากข้างนอกเอาเอง

     การเรียนภาษาอังกฤษ ในระบบการศึกษาไทย ยังให้เด็กอ่านแต่แกรมมาร์เป็นส่วนมาก หรือท่องกริยาสามช่อง เพื่อมาสอบ แต่ความเห็นของผม ผมคิดว่าการที่จะให้เราเก่งภาษาอังกฤษได้เร็วกว่านั้น คือต้องเริ่มต้นที่การฟัง และเก็บเกี่ยวคำศัพท์ ยิ่งเราฟังมากๆ เราก็จะได้ฝึกทั้งการฟัง และพูดไปในทีเดียว เพราะเราสามารถเลียนเสียงฝรั่งจากที่ได้ยินได้ รวมทั้งคลังคำศัพท์ในสมองของเราก็สำคัญมาก  ถ้าคุณรู้ศัพท์น้อย คุณจะฟังจะอ่านยังไง ก็ไม่เข้าใจความหมาย แล้วอย่างนั้นเราจะพูดจะเขียนออกมาได้อย่างไร

เวลาผมเขียนบลอคนี้ ผมชอบเขียนพร้อมวิดีโอหรือไฟล์เสียงให้ฟังด้วยเป็นส่วนมาก ถ้าคนที่ติดตามอยู่ ก็จะสังเกตุได้ ว่าบางทีผมเอาจากตัวอย่างหนังมาสอน  หลายวันก่อนผมไปอ่านหนังสือที่ TK Park (ถ้าว่างก็จะชอบไปที่นี่) ผมก็ไปเจอหนังสือของคุณ Andrew Bigg เล่มนึง คิดว่าเป็น pocket book เล่มแรกแต่จำหน้าปกไม่ได้แล้ว เล่มนั้นเป็น กฏ 10 ข้อ ในการฝึกภาษาอังกฤษครับ ผมจะเอามาบอกต่อ พร้อมอธิบายสั้นๆให้

10 Rules by Andrew Bigg กฏ 10 ข้อ

ข้อ 1. Forget the rule ลืมกฏซะ
นั่นคือเวลาเราพูดภาษาอังกฤษ อย่าไปพะวงเรื่องของภาษาเราจะไม่ถูกไวยากรณ์ หรือใช้กริยาผิดช่อง เพราะฝรั่งเขาไม่เข้มงวดเรื่องนี้เองเลย

ข้อ 2. Make mistake พูดผิดซะ
พูดไปเถอะครับ ไม่ต้องกลัวผิด ถ้าเราผิดฝรั่งเขาก็เข้าใจครับว่าภาษาอังกฤษเป็น ภาษาที่ 2 ของเรา เขายังยินดีช่วยแก้ให้คุณได้ ถ้าเค้าไม่แก้ให้คุณก็อย่าไปคบเขาเลย

ข้อ 3. Don't translate อย่าแปลตรงตัว
ใช่ครับภาษาไทยกับอังกฤษ ไม่เหมือนกัน ห้ามไปแปลตรงตัวเช่นบอกว่า ภาษาอังกฤษของผม งูๆปลาๆ My english is snake snake fish fish พูดแบบนี้ฝรั่งงงแน่ๆครับ หรือบอกให้เปิดทีวีว่า open the TV อันนี้ผิดอย่างแรง เครื่องใช้ไฟฟ้าเค้าต้องพูดว่า turn on the TV นะ

ข้อ 4. Keep it simple ใช้ภาษาง่ายๆ
ใช่เลย จะพูดอังกฤษ คนไทยบางคนต้องคิดเอาให้ภาษาตัวเองดูไฮโซ พยายามใช้คำยากๆแทน เช่นจะไปกินข้าวที่บ้าน I'm going to dine at my house ไม่รู้จะใช้คำนี้ทำไมครับ ใช้ eat สิครับ จบ

ข้อ 5. Could you please slow down กรุณาพูดช้าๆหน่อย
คนไทยเป็นโรคขี้เกรงใจ หรือ หน้าแตก ครับ ฟังฝรั่งไม่เข้าใจ ก็ยังฟังต่อไป ไม่บอกให้เขารู้ว่าเราไม่เข้าใจ พอเป็นแบบนี้ก็เกิดความเข้าใจผิดทีหลัง หรือเขาสั่งงานมาเราก็ทำไม่ได้เพราะฟังไม่เข้าใจ ไม่ต้องกลัวครับถ้าฟังไม่ทัน ก็ขอให้เขาพูดช้าๆลงหน่อย

ข้อ 6. Relax ทำตัวสบายๆ
คนไทยเป็นโรคเกร็งเวลาคุยกับฝรั่ง หลายคน ไม่ต้องกลัวครับฝรั่งไม่ใช่ยักษ์ใช่มารที่ไหน เวลาคุยกับเขา ก็หักเป็นฝ่ายซักถามหรือชวนคุยไปเลยครับ เราจะได้ผูกมิตรกับเขา แล้วหมดโรคกลัวนี้ไปได้

ข้อ 7. Listen and Copy ฟังแล้วเลียนแบบ
ผมสนับสนุนมากๆครับ คือฝึกภาษา เราต้องหัดฟังแล้วเลียนแบบ และวิธีที่ดีที่สุดที่ผมชอบคือ ฝึกภาษาอังกฤษจากหนังนั่นแหละ ฝึกฟังแล้วเลียนแบบ เราจะได้ออกเสียงเป็น เผลอๆสำเนียงดีไปในตัวด้วย จะฝึกคำหยาบ คำสบถก็ทำไปเถอะ ถ้ามันช่วยคุณได้

ข้อ 8. Guess เดา
บางครั้งเวลาอ่านภาษาอังกฤษ แล้วเราไม่เข้าใจคำศัพท์ ผมมีวิธี ที่ผมเองก็ทำประจำ คือ เดาครับ อ่านหาใจความโดยรวมของเรื่องที่เราอ่าน บางครั้งเจอคำยากๆ เราก็ลองเดาว่ามันแปลว่าอะไร

ข้อ 9. Give yourself time ให้เวลากับตัวเอง
หมายถึงให้เวลากับตัวเองในการฝึกภาษาอังกฤษ จะบ่อยจะถี่แค่ไหนก็ขึ้นกับตัวเรา ไม่ใช่เห็นภาษาอังกฤษเป็นเรื่องน่าเบื่อ ก็ไม่สนใจที่จะขวนขวายหรือเรียนรู้ การมาอ่านบลอคของผม วันสองวันต่อครั้ง ก็ถือว่าคุณแบ่งเวลาตัวเองนิดเดียวไม่กี่นาทีในการฝึกภาษาอังกฤษเหมือนกัน

ข้อ 10. Read read read อ่าน อ่าน และก็อ่าน
ข้อสุดท้ายคือหัดอ่านอะเป็นภาษาอังกฤษเยอะๆ เราจะได้ภาษาเข้ามาให้หัว จนบางทีเก่งขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ตัวผมเรียนในมหาวิทยาลัยอินเตอร์ ผมอ่าน textbook ทั้งเล่มมาแล้วก็มี สิ่งที่ผมได้ ผมได้ทั้งคำศัพท์เฉพาะทางก็มีเยอะแยะ

ข้อโบนัสแถม Find a foreign friend หาเพื่อนฝรั่ง
มีเพื่อนฝรั่ง ทำให้เราได้ฝึกใช้ภาษา และมีครูที่แนะเราได้อยู่ใกล้ตัว ถ้าให้ดีและได้ผลดีที่สุดนะครับ หาแฟนฝรั่งเลยมั๊ย
การฟังภาษาอังกฤษให้รู้เรื่อง


และพูดภาษาอังกฤษให้เก่ง

การฟังภาษาอังกฤษให้รู้เรื่องและพูดภาษาอังกฤษให้เก่งคำพูดที่ว่า "ทำอย่างไรให้ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง" หรือ "ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง” และ “ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้เก่ง” เป็นคำพูดที่คนส่วนใหญ่พูดกัน ทั้งๆที่เรียนภาษาอังกฤษกันมาแล้วหลายปียิ่งไปกว่านั้น  หลายคนยังต้องเสาะหาที่เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมจากที่ต้องเรียนในโรงเรียน  และบางคนผ่านการเรียนภาษาอังกฤษจากสถาบันสอนภาษาอังกฤษมาแล้วหลายสถาบัน  แต่ก็ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ซักที  บางคนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดี เข้าใจดี หรือ บางคนทำคะแนนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้ดี  แต่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เพราะอะไรสาเหตุที่สำคัญคือ  การฟังภาษาอังกฤษให้เก่ง   กล่าวคือเราต้องพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อน และวิธีการฟังให้ได้ผลดีคือ เราต้องฟังประโยคซ้ำๆ หลายๆรอบ จนขึ้นใจแล้วพูดตาม  ออกเสียงให้เหมือนที่สุด อาจไม่เข้าใจความหมาย  หรือคำแปล  ไม่เป็นไร ขอให้พูดภาษาอังกฤษออกมาให้ได้ก่อนเมื่อเราพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นออกมาได้แล้ว   เราก็หลุดออกจากกับดักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้แล้ว  นั่นแปลว่าเราได้เข้าสู่วงจรของการที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติแล้ว หลังจากนั้นจึงค่อยมาศึกษาคำแปลของประโยคเหล่านั้น  และเพิ่มประโยคภาษาอังกฤษให้มีสะสมในสมองมากขึ้น ลำดับต่อไปจึงฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นให้เร็วขึ้น  เราก็จะสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัดอีกแล้วแล้วจึงมาฝึกหรือแก้ไขคำที่เรามักจะออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ถูกต้อง ไม่ชัด  ให้พูดได้ชัดเจนขึ้น  ตรงนี้อาจต้องอาศัยครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษา เช่นชาวอังกฤษ หรือชาวอเมริกันมาช่วยสอน  เพื่อให้เรียนได้เร็วและมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้นถ้าทำเช่นนี้ได้บ่อยๆก็จะสามารถ ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง และพูดภาษาอังกฤษเก่ง            

แนะนำตัว

classroom
1. แนะนำตัวภาษาอังกฤษตอนนำเสนองานในห้องเรียน
ถึงแม้เพื่อนๆในห้องจะรู้จักเราเป็นอย่างดี แต่เราไม่ควรมองข้ามการแนะนำตัวนะ คิดซะว่าเป็นการขัดเกลาฝีมือการแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษของเราเองแล้วกัน อย่าลืมว่าถ้าเราไม่จริงจังตั้งแต่แรก ก็คงไม่มีใครตั้งใจฟังการนำเสนองานของเราแน่นอน
  • แนะนำตัวก่อนเราเป็นใคร – ขั้นแรกให้บอกชื่อ-นามสกุลตัวเองให้เรียบร้อย แต่ในบางกรณีไม่ต้องบอกนามสกุลก็ได้ เช่น
    Good morning everyone. My name is Jason Green. (สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมชื่อเจสัน กรีน)
  • เป็นตัวแทนจากกลุ่มก็บอกเลย – กรณีนำเสนองานกลุ่มก็ให้บอกเพื่อนๆครับว่าเราเป็นตัวแทน เช่น
    I’m representing group 4. (ผมเป็นตัวแทนจากกลุ่ม 4)
  • หัวข้อที่จะพูด – สุดท้ายก็เปิดการนำเสนอด้วยการบอกหัวข้อเรื่องที่เราจะพูด
    Today, I’m going to discuss the life and achievements of Nelson Mandela.
    (วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องชีวิตและความสำเร็จของเนลสัน แมนเดลา)
แต่ถ้าเราไม่ได้นำเสนองาน แค่แนะนำตัวเฉยๆ ก็สามารถบอกชื่อ และประวัติคร่าวๆของเราได้เลย เช่น
Good morning. My name is Suppachai. My nickname is King. I am studying at … school, in grade 7. I live in Bangkok. I live with my parents. I have 1 older brother. My favorite sport is badminton. I like to read books in my free time.(สวัสดีครับ ผมชื่อศุภชัย ชื่อเล่นชื่อคิง ผมเรียนอยู่ที่โรงเรียน… อยู่ชั้นม.1 ครับ ผมอยู่ที่กรุงเทพO อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ผมมีพี่ชายอยู่คนนึง ผมชอบเล่นแบดมินตัน และในเวลาว่างผมชอบอ่านหนังสือครับ)
P.S. การแนะนำตัวลักษณะนี้มักจะใช้ในระดับประถมศึกษาหรือมัธยมต้นนะจ๊ะ สำหรับเด็กม.ปลายหรือสูงกว่านี้ควรเพิ่มคำศัพท์ที่น่าสนใจ ประโยคที่ฟังลื่นหู หรือเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองเข้าไปด้วยล่ะ เช่น
Good morning, everyone. My name is Wittawat, or you can just call me Dew. I love to read comics, which is why I have a good sense of humor. I also like to go outside on weekends, especially to the theaters. I’m an extrovert person and I love to go to parties. It’s nice to meet all of you.(สวัสดีครับ ผมชื่อวิทธวัช หรือเรียกผมว่าดิวก็ได้ ผมชอบอ่านการ์ตูนนะ ทำให้ผมเป็นคนมีอารมณ์ขัน วันเสาร์อาทิตย์ผมมักจะออกไปดูหนัง ผมเป็นคนที่เปิดเผยและชอบงานปาร์ตี้มากเลย ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ)
introduce
2. แนะนำตัวภาษาอังกฤษเพื่อสมัครงาน
การแนะนำตัวลักษณะนี้จะ advance ขึ้นมาอีกระดับ สิ่งสำคัญคือ First impression ครับ ต้องทำให้ผู้สัมภาษณ์เราประทับใจให้ได้ หากเราแต่งกายดูดี มีความมั่นใจและรู้ว่าต้องไปพูดอะไร ก็มีโอกาสที่เราจะได้งานสูงทีเดียว
วิธีรับมือคำถามสุดฮิต “Tell me about yourself.”
นายจ้างต้องการรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวเรา ทั้งชื่อ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ งานอดิเรก ครอบครัว นิสัยส่วนตัว และที่สำคัญคือระดับภาษาอังกฤษของเรานั่นเอง ดังนั้นใครมีความสามารถ จัดเต็มไปไม่ต้องกั๊กครับ ไม่งั้นเดี๋ยวจะมาเสียดายภายหลังนะบอกไว้ก่อน
หากต้องแนะนำตัวภาษาอังกฤษกับกรรมการหลายคน ในบรรยากาศที่แสนจะกดดัน เราต้องตอบรับด้วยความเป็นมืออาชีพครับ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครงานภาษาอังกฤษได้ที่นี่เลย
  • Good afternoon. First of all, thank you for giving me this opportunity and it is a great pleasure to meet you all. My name is Watson Smith and I have completed my Bachelor’s Degree in Marketing from Rajabhat University. I have two years experience as a marketing officer. 

วิธีฝึกภาษาอังกฤษด้วยตนเอง






ปัจจุบันนี้ ภาษาอังกฤษ เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นการที่เราสามารถสื่อสารภาษาอักฤษได้ ย่อมทำให้ได้เปรียบคนอื่นๆ วันนี้เราจึงมีข้อมูลมาแนะนำกับ 10 วิธีการฝึกภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะยากเกินไปสำหรับใครไม่รู้จะฝึก เรียนภาษาอังกฤษ อย่างไร ให้เข้าใจ 

1. ตามอ่านอะไรที่เราสนใจ ตอนเด็กๆหลายคนอาจจะไม่ชอบภาษาอังกฤษ เพราะโดนครูบังคับให้อ่านเรื่องอะไรก็ไม่รู้ แต่ลองเริ่มอ่านเรื่องที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน กีฬา ดนตรี ข่าวซุบซิบดาราฝรั่ง หรือมุมขำๆในหนังสือพิมพ์ จำไว้เลยว่าไม่มีอะไรไร้สาระ เพราะเรากำลังเรียนรู้อยู่ 

















2. ฟังวิทยุให้ชิน การฟังวิทยุนั้นจะช่วยให้เราได้ฟังทั้งเสียงคนพูด รวมถึงเสียงร้องเพลง เป็นการฝึกหูในชินกับภาษาในหลายๆรูปแบบอีกวิธีหนึ่งด้วย





 3. ไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทย การฝึกภาษาอังกฤษให้เข้าใจนั้น ไม่จำเป็นที่เราต้องอ่านหรือฟังแล้วแปลเป็นภาษาไทย อาจจะสงสัยว่าไม่แปลเป็นไทยแล้วจะเข้ะาใจยังไง การไม่พยายามแปลเป็นไทยจะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วขึ้นด้วย



4. แปะกระดาษโน้ตบนสิ่งของต่างๆ วิธีนี้จะเหมือนการเอาข้าศึกมาล้อมเมือง การแปะชื่อสิ่งของต่างๆที่เราใช้เป็นภาษาอังกฤษ ช่วยทำให้ชีวิตได้คุ้นเคยกับคำเหล่านี้มากขึ้น และเป็นการฝึกอ่านฝึกความเข้าใจไปในตัวด้วย







 5. ดูทีวีและภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ การดูภาพ ฟังเสียง และอ่านซับไตเติ้ลภาษาไทยไปพร้อมๆกัน ช่วยฝึกประสาทการรับรู้ในหลายๆช่องทาง ซึ่งต่อไปก็สามารถเปลี่ยนจากซับไทย เป็นซับอังกฤษ ไปจนถึงขั้นปิดซับได้ในท้ายที่สุด






 6. เล่นเกมที่ใช้คำภาษาอังกฤษบ่อยๆ สมัยนี้มีเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟน เราจึงสามารถหาแอพพลิเคชั่นเกมภาษาอังกฤษ เช่น Crosswords มาเล่นแก้เบื่อในยามว่างได้ ทีนี้ก็ลองเปลี่ยนจากแชทไลน์มาเป็นเล่นเกมแนวนี้แทน จะช่วยพัฒนาได้อีกทาง




7. ใช้คำต่างๆเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น วิธีนี้หลายคนอาจจะมองดูว่ากระแดะหรือเปล่า? จริงๆแล้วเป็นเพียงการใช้คำให้ถูกกับภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยพยายามพูดอังกฤษบ่อยๆในศัพท์ที่ใช้ได้ เช่นเปลี่ยนคำว่ามือถือ เป็น Smart Phone เปลี่ยนคำว่า นาฬิกาปลุก เป็น Alarm เป็นต้น 



8. ทำลิสต์ต่างๆให้เป็นภาษาอังกฤษ ขั้นตอนนี้อาจจะลำบากในตอนแรก แต่ถ้าเราลองลิสต์ต่างๆให้เป็นอังกฤษจะช่วยเราให้คุ้นเคยได้มากขึ้น อย่างเช่น ลิสต์กิจกรรมที่ต้องทำพรุ่งนี้ ลิสต์ตารางไปเที่ยวพักผ่อน หรือลิสต์ของที่ต้องซื้อเข้าบ้าน ให้เป็นภาษาอังกฤษซะ





 9. ลงทุนซื้อ Dictionary ดีๆสักเล่ม นี่คือการลงทุนที่คุ้มค่า แม้จะมีราคาค่อนข้างแพงไปบ้าง แต่ก็ช่วยให้เราสามารถเข้าใจและพัฒนาภาษาไปได้ดีกว่า (สำหรับคนทุนน้อยจริงๆ ข้อนี้อาจจะข้ามไปได้บ้าง)



 10. เราชอบอะไร ทำสิ่งนั้นเป็นภาษาอังกฤษ ความชอบ ความรัก มันทำให้เราสามารถทำอะไรก็ได้อย่างมีความสุขและไม่น่าเบื่อ ถ้าชอบทำอาหาร ก็เปลี่ยนเมนูอาหารเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าชอบเล่นกีฬาหรือดนตรี ก็ดาวน์โหลดวิดีโอการฝึกซ้อมแบบภาษาอังกฤษมาดู ถ้าชอบเล่นเกมก็ฝึกอ่านคู่มือเกมภาษาอังกฤษ เราก็จะหลงรักมันโดยไม่รู้ตัวเลยล่ะ 











ปัญหาที่พบมากที่สุด ในการเรียนภาษาอังกฤษ

 Collocation : ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทย เขียนและพูดภาษาอังกฤษไม่ได้มาตรฐาน
พวกเราเขียนและพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ เพราะว่าเราถูกสอนอยู่เพียง 2 ส่วนคือ คำศัพท์ (Vocabulary) และ ไวยากรณ์ (Grammar) แต่ในความเป็นจริง คือ คำศัพท์ในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นกลุ่มคำ ไม่ใช่นำคำศัพท์แต่ละคำมาเรียงต่อกันเป็นประโยคเหมือนภาษาไทย
ยกตัวอย่างเช่น


"ฉันไปโรงเรียน"ฝรั่งใช้ I go to school.ไม่ใช่  I (ฉัน) go (ไป) school (โรงเรียน)

แต่ "ฉันกลับบ้าน"ฝรั่งใช้ I go home.ไม่ใช่ I go to home.


สุขสันต์วันเกิดแด่เธอHappy birthday to you.ไม่ใช่ Happy birthday for ( แด่ สำหรับ) you.


เขาผ่านไปฝรั่งใช้ He passed by.ไม่ใช่ He passed(ผ่าน) away (จากไป)
เพราะ "pass away" แปลว่า ล่วงลับ ตาย
เรามักใช้คำภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยตรงๆ จึงทำให้ฝรั่งไม่เข้าใจ


จากประสบการณ์ การทำงานแปลและเขียนภาษาอังกฤษ มาเป็นเวลานานกว่า 50ปี คุณวงศ์ วรรธนพิเชฐ ผู้เรียบเรียง พจนานุกรม English By Example มีความเห็นว่า ประโยคภาษาอังกฤษไม่ใช่มีเพียงแค่



ประธาน (Subject)
+
กริยา (Verb)
+
กรรม (Object)


แต่ความจริงแล้ว องค์ประกอบที่สำคัญในการแต่งประโยคภาษาอังกฤษให้ได้มาตรฐาน มี 3 ส่วน คือ



คำศัพท์ (Vocabulary)
+
ไวยากรณ์ (Grammar)
=    
ประโยค (Sentence)
+
Collocation

  Collocation คืออะไร
อธิบายง่ายๆ Collocation คือ กลุ่มคำที่ต้องใช้ร่วมกัน หรือ เรียกอีกอย่างว่า "คำปรากฏร่วม"
จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น "go to school", "go home", "Happy birthday to you", "pass by", "pass away" เป็น Collocation
Collocation นั้นไม่เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์ เพราะบางกลุ่มคำถึงแม้จะวางสลับตำแหน่ง หรือใช้คำไม่ถูก แต่ ก็ไม่ผิดไวยากรณ์แต่ประการใด แต่การใช้ Collocation ผิด จะทำให้เจ้าของภาษาหรือผู้ที่รู้ภาษาอังกฤษมากๆ ทราบได้ทันทีว่า เราเป็นคนต่างชาติและใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้มาตรฐาน
คำว่า Collocation มาจากคำภาษาอังกฤษ 2 คำ คือ col (to do something with something or someone) + location มีคำแปลภาษาไทยว่า "คำปรากฏร่วม" Collocation เป็นการเชื่อมคำ การจัดวางคำ หรือกลุ่มคำ (รวมทั้ง idioms) ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกันในประโยค ที่เจ้าของภาษานิยมใช้ และเห็นว่าถูกต้องตามมาตรฐาน ซึ่งคำที่ใช้ร่วมกันนั้น จะใช้คำอื่นแทน หรือสลับตำแหน่งกันไม่ได้ ถึงแม้ว่าคำที่จะใช้แทนจะมีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันก็ตาม
ความจริงทุกภาษาก็มี collocation รวมทั้งภาษาไทย ตัวอย่างเช่น
คำบางคำเมื่อใช้ร่วมกันแล้วสลับตำแหน่งกันไม่ได้ เช่น

Thai collocation

บ่ายสองโมงไม่ใช่ สองโมงบ่าย (บ่ายต้องนำหน้าเวลา)
ห้าโมงเย็นไม่ใช่ เย็นห้าโมง (เย็นต้องตามหลังเวลา)
หรือ ฝนตกไม่ลืมหูลืมตา (ฝนตกหนัก)ไม่ใช่ ฝนตกไม่ลืมตาลืมหู
คนไทยก็ไม่มีเหตุผล หรือหลักไวยากรณ์ในเรื่องนี้ ทั้งที่บ่ายกับเย็น มีความหมายบอกช่วงเวลาของวันเหมือนกัน หรือ หูกับตาก็เป็นอวัยวะเหมือนกัน แต่สลับตำแหน่งกันไม่ได้


English collocation
It rains cats and dogs.
ประโยคนี้เป็นสำนวน (idiom) แปลว่า ฝนตกหนัก
คำว่า cats and dogs เป็น collocation
เราไม่สามารถ เขียนเป็น dogs and cats หรือ cats and cows ได้
คำบางคำเมื่อใช้ร่วมกัน ความหมายก็เปลี่ยนไป เช่น

Thai collocation

หินอ่อน คือ marbleไม่ใช่ หินนุ่ม หินนิ่ม หรือ soft rock
ตัดถนน แปลว่า ทำถนนสายใหม่เพิ่มตัด แปลว่า ทำให้สั้นลง ลดลง แยกออกจากกัน
English collocation
The cloth has fast colour. (ผ้าสีไม่ตก)
เราจะทราบกันโดยส่วนใหญ่ว่า fast แปลว่า "เร็ว"
คำว่า stable หรือ durable ซึ่งแปลว่า "ทนทาน" น่าจะใกล้เคียงกว่า
แต่เจ้าของภาษาไม่ใช้คำว่า stable colour หรือ durable colour
ดังนั้นจึงต้องใช้คำว่า fast colour ตามเจ้าของภาษา ดังนั้นคำว่า fast colour จึงเป็น collocation
คำบางคำความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน แต่ใช้แทนกันไม่ได้ เช่น

Thai collocation

ย่านธุรกิจไม่ใช่ เขตธุรกิจ
เขตป่าสงวนไม่ใช่ ย่านป่าสงวน
พื้นที่สีเขียวไม่ใช่ เขต/ย่าน สีเขียว
English collocation
คำว่า strong กับ powerful มีความหมายใกล้เคียงกัน
แต่ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า strong windstrong competition
และ powerful machinepowerful enginepowerful weapon
เราไม่สามารถใช้ strong machine หรือ powerful wind ได้


  ความสำคัญของ Collocation




Collocation เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ถูกละเลย ไม่ได้รับความสำคัญในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่ Collocation ถูกใช้ในการเขียนภาษาอังกฤษ มากถึง 60-80% ดังนั้น การเน้นให้ท่องจำศัพท์เป็นคำๆ มากๆ จึงไม่ทำให้เราเรียนภาษาอังกฤษเก่งขึ้น เท่ากับการฝึกให้จดจำศัพท์เป็นกลุ่มคำ (Collocations) ศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป มีไม่ถึง 4,000 คำ แต่ Collocations หรือกลุ่มคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกับคำศัพท์เหล่านั้น มีมากมายหลายหมื่น Collocations ดั้งนั้น หากเรารู้ Collocations หลายหมื่น Collocations ก็เท่ากับว่า เราสามารถแต่งประโยคที่ถูกต้องได้มากมายนับไม่ถ้วน
ข้อควรระวังที่สำคัญยิ่ง พวกเราหลายคน ชอบเขียนภาษาอังกฤษแบบแปลตรงตัวจากไทยเป็นอังกฤษ ซึ่งอาจมีการใช้ Collocation ผิด ทำให้ความหมายผิดไปด้วย ตัวอย่างเช่น


  1. เธอเป็นคนใจเย็น
    Correct: She is cool-tempered.
    Wrong: She is cold-hearted. (เธอเป็นคนใจร้าย)
  2. เขาผ่านไป
  3. Correct: He passed by.
    Wrong: He passed away. (เขาเสียชีวิต)
  4. เขาทานยา
    Correct : He takes medicine.
    Wrong: He takes drugs.(เขาติดยาเสพติด)
  5. บ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
    Correct: The house looks east.
    Wrong: The house turns to east.
  6. เธอเป็นคนง่ายๆ
    Correct: She is easy-going.
    Wrong: She is an easy woman. (เธอเป็นผู้หญิงใจง่าย)




บทความที่เกี่ยวข้อง

2 วิธีเท่านั้น ที่ทำให้เราสามารถรู้ Collocations ได้มากๆ
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษได้จัดให้ Collocation เป็นเรื่องที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่ง ในการเรียนภาษาอังกฤษ ของคนต่างชาติ ดังนี้


Harold E. Palmer (1877-1949)
ผู้แต่งหนังสือชื่อ "A Grammar of English Words"
Related link

http://en.wikipedia.org/wiki/Harold_E._Palmer
ได้เขียนไว้ในคำนำหน้า iii-iv ว่า
"ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ในการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษของนักศึกษาต่างชาตินั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องคำศัพท์.... มีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยประมาณ 1,000 คำ ที่ไม่เคยก่อความยุ่งยากในการใช้แก่ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ แต่กลับสร้างปัญหาให้กับนักศึกษาต่างชาติ และเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้นักศึกษาต่างชาติใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ คำศัพท์เหล่านี้ "ยาก" เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
    1. คำศัพท์แต่ละคำทำหน้าที่ได้มากกว่า 1 ประเภท . . .
    2. คำศัพท์แต่ละคำอาจมี Collocations ได้มากมายหลายแบบ . . ."




Della Summers
บรรณาธิการอำนวยการของพจนานุกรม Longman Language Activator - The World's First Production Dictionary (1993, p.8)
Related link

www.dellasummersdictionaries.com


ได้กล่าวถึง Collocations ในพจนานุกรมเล่มนี้ว่า
"นักศึกษาจะแสดงความจำนงอยู่เสมอถึงความจำเป็นที่ต้องมีพจนานุกรมที่สามารถบอกพวกเขาได้ว่า ศัพท์คำใดที่ถูกต้องสำหรับข้อความนั้นๆ วลีใด หรือ Collocations ใดที่จะช่วยให้พวกเขาพัฒนาความสามารถในการสื่อสิ่งที่พวกเขาต้องการสื่อ"

A.P. Cowie, University of Leeds
ได้เขียนไว้ในบทนำของ Oxford Advanced Learner's Dictionary of Current English by A.S. Hornby, Fourth Edition (1995, p. vii ) ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ Collocations ไว้ว่า "เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ที่ Oxford University Press ได้จัดพิมพ์ Advanced Learner's Dictionary ของ A.S. Hornby ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นผลงานบุกเบิกอันโดดเด่น ที่เกิดจากการวิจัยอันละเอียดลึกซึ้งในแง่มุมต่างๆ ของการใช้ภาษาอังกฤษ รวมทั้งโครงสร้างประโยค และ Collocations อันเป็นที่รู้กันดีว่า สร้างความยากลำบากให้กับนักศึกษาชาวต่างชาติ"

Tom McArthur
The Oxford Companion To The English Language ปี 1992
ได้ระบุความสำคัญของ Collocations ไว้ในหน้า 231 - 232 ว่า "Collocations เป็นพื้นฐานของภาษา ที่ผู้ศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงความละเอียดอ่อนของมัน เพราะความผิดพลาดในการจัดเรียงคำในการเขียนภาษาอังกฤษ จะเป็นเครื่องบ่งชี้ที่สำคัญถึงความเป็นคนต่างชาติ"
    
 2 วิธีที่ทำให้คุณรู้ Collocations ได้มากๆ
เนื่องจาก Collocations เป็นสิ่งที่ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวเหมือนไวยากรณ์ ผู้สอนภาษาอังกฤษจึงไม่สามารถสอน Collocations ได้ทั้งหมดในสถานศึกษา ดังนั้น หากคุณต้องการรู้ Collocations มากๆ จึงมีเพียง 2 วิธีเท่านั้น คือ


1. ท่องจำและฝึกฝนจนขึ้นใจ

เพราะภาษาเป็นเรื่องของการเลียนแบบ ดังนั้นการเขียนหรือพูดให้ได้อย่างเจ้าของภาษา คุณจะต้องหัดสังเกตกลุ่มคำ ดูว่าคำใดมักใช้คู่กับคำใด รวมทั้งสังเกตวิธีการวางตำแหน่งของคำที่เจ้าของภาษาใช้ ทั้งจากการอ่านมากๆ และฟังมากๆ แล้วหมั่นฝึกฝนใช้ Collocations เหล่านั้น ด้วยการเขียนมากๆ และพูดมากๆ จนเคยชินและชำนาญ วิธีนี้หากตั้งใจจริง และอดทนในการฝึกฝน คุณจะประสบความสำเร็จแน่นอน แต่คนส่วนใหญ่มักจะท้อเสียก่อน



2. มี พจนานุกรม English By Example  เป็นคู่มือ 
พจนานุกรม English By Example   เป็นพจนานุกรม English Collocations ฉบับแรก และฉบับเดียว ของประเทศไทย ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือให้คนไทยที่ไม่มีโอกาสอ่าน เขียน พูด หรือพบเห็นตัวอย่างการใช้คำภาษาอังกฤษได้มากๆ สามารถเปิดค้นหาตัวอย่างประโยค หรือวลีที่ต้องการเขียนได้ นอกจากนี้ผู้ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน เมื่อเกิดข้อสงสัย ก็สามารถค้นหาคำศัพท์ที่ถูกต้องจากพจนานุกรมฉบับนี้ได้เช่นกัน




พจนานุกรม English By Example นี้รวบรวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ที่ถูกใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน หรือคำศัพท์ที่คนไทยมักใช้ผิดจำนวน 4,663 คำ คำศัพท์แต่ละคำมีตัวอย่างการใช้คำ ในรูปของวลีหรือประโยคในสถานการณ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก และมากกว่าพจนานุกรมทั่วไปหลายเท่าไม่ว่าจะเป็นพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ หรือ อังกฤษ-ไทย ซึ่งตัวอย่างมากมายเหล่านี้ มีข้อดีคือ คุณไม่ต้องเปิดพจนานุกรมหลายเล่มเพื่อหาตัวอย่างที่ต้องการเขียน เมื่อใดที่คุณนึกประโยคไม่ออก คุณเพียงเปิดไปที่คำศัพท์หลักที่ต้องการเขียน แล้วค้นหาตัวอย่างในพจนานุกรมเล่มนี้คัดลอกได้เลย หากตัวอย่างเป็นวลี คุณแค่หาประธาน กริยา หรือกรรมใส่ไปก็จะได้ประโยคที่ต้องการเขียน ทำให้การแต่งประโยคเป็นเรื่องง่าย ไม่ยากอย่างที่เคยประสบ นอกจากนี้ภาษาไทยที่แปลกำกับในแต่ละตัวอย่างยังช่วยให้คุณเข้าใจความหมายของตัวอย่างประโยคได้ถูกต้องอีกด้วย




ที่มา http://www.dicthai.com/dt_problem.html

Learn English


ทำอย่างไรถึงจะเก่งภาษาอังกฤษ

โดย Andrew biggs


       ก่อนที่ผมนำเสนอสิ่งที่ต้องทำทุกวันเพื่อเก่งภาษาอังกฤษ ผมขอเสนอสิ่งที่ไม่ควรทำก่อน ผมมีความรู้สึกว่า เป็นหลายสิบปีแล้วที่คนไทยเรียนภาษาอังกฤษกลับหัว ผมหมายถึงคุณเรียนไวยากรณ์อังกฤษตั้งแต่เด็ก และก็การพูดการฟังทีหลัง ซึ่งน่าจะผิดธรรมชาติ ไวยากรณ์ต้องมาหลังถนัดฟังและพูด อีกอย่างหนึ่ง ปลุกค่านิยมที่ผืดคือทำให้คุณเชื่อว่า การเรียนไวยากรณ์อย่างเดียวเป็นสิ่งที่จะช่วยคุณพูดอังกฤษ แต่อันที่จริงก็ไม่เลย ที่จริงมันช่วยสร้างปวดหัวกับคุณมากกว่า ช่วยทำให้คุณสับสนกับภาษาอังกฤษอย่างรวดเร็วครับ
       ผมเป็นศิษญ์เก่าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในกรุงบริสเบนบ้านเกิดขิงผมครับ สมัยเรียนประถมกับมัธยมโรงเรียนมีชื่อว่า Grammar School หรือ โรงเรียนสอนไวยากรณ์ แต่รู้ไหม รร.นี้ถึงแม้ว่าเน้นเรื่องไวยากรณ์ อาจารย์เริ่มสอนเรื่องกฏกติการของไวยากรณ์จนกรัที่ง ม.2 ครับ! ใช่แล้ว ผมจำได้ว่ามีการสอน parts of speech (นาม กริยา คุณศัพท์ผ ฯลฯ) นืด ๆ ในม.1 แต่ไม่มากนัก  เหมือนกับว่าผมมีประสบการในการพูดอังกฤษตั้งแต่เกิดถึง ม.2. หรือประมาณ 13 ปี ประสบการในกับการณ์เขียนประมาณ 7 ปี ก่อนที่เราเริ่มเรียนกฏกติกาของไวยากรณ์เอาจริงเอาจังตอนมัธยมปีที่ 2 หรือที่เราเรียกในระบบการศึกษาเราว่า Grade 8 ครับ 
       เป็นไปได้ยังไง!!
ขนาดโรงเรียนเกรดเอที่เน้นไวยากรณ์แม้ในชื่อโรงเรียนเอง แต่ไม่เริ่มสอน 12 tense จนถึงม. 2 !!
เชื่อไหม ก่อนที่มาเมืองไทยผมก็ไม่เคยเห็นหนังสือ กริยา 3 ช่อง ในชีวิตผมเลย หลายคนอาจคิดว่าผม พูดเว่อเกินไปแต่มันเป็นความจริงครับ ไม่เคย ไม่เคยนั่งท่อง eat ate eaten หรือ go went gone ในชีวิต เหมือนเด็กไทย นั่นเป็นเพราะว่าผมเรียนภาษาแบบธรรมชาติ และรู้อยู่แล้วว่า ate ต้องใช้ในอดีต และ eaten ต้องใช้กับ have ในรูป I have eaten แต่ถ้าจะให้เจ้าของภาษาอธิบายสาเหตุที่ใช้ have eaten ในรูป present perfect tense … ฝรังส่วนใหญ่ เกือบทั้งหมด อธิบายไม่เป็น จำไม่ได้แล้ว แต่ก็ใช้อย่างทุกต้องตลอด    คุณ ซึ่งมีสมองเต็มไปด้วยกฏกติกาเกี่ยวกับไวยากรณ์อังกฤษที่คุณท่องให้เรียบร้องและรู้ว่าเป็น present perfect tense ซึ่งประกอบด้วย have บวก กริยาช่องสามหรือ eaten นั้นเอง … รู้มากขนาดนี้ แต่ใช้ไม่เป็นเลย เกิดอะไรขึ้นกันแน่    ผมไม่ได้หมายความว่าไวยากรณ์ไม่สำคัญหรอก สำคัญสิครับ ต้องรู้เรื่องบ้าง แต่ถ้าอยากเก่งอังกฤาก็ต้องถนัดฟังและพูด แม้อ่านด้วย ก่อนที่จะเริ่มท่องกฏกติกาภาษาอังกฤาษ  และจะบอกความดี  ถ้าคุณถนัดฟังและพูดก่อนเรียนกฏกติกาอย่างจริงจัง การเรียนไวยากรณ์นั้นจะง่ายขึ้นเพราะรู้เรื่องโดบบริยายอยู่แล้ว! เข้าใจและท่องไม่ยาก  เปรียบเทียบกับเด็ก หรือผู้ใหญ่   ที่มัวแต่ซื้อตำราสอนไวยากรณ์ ท่องกฏโดยไม่นำมาใช้ เด็กคนนั้นผมกล้าฟันธงและบอกงว่า เขาจะไม่เก่งภาษาอังกฤษ
       ได้ยินไหมครับ ถ้ามั่วแต่ท่องกฏคุณจะไม่เก่งภาษาอังกฤษ
       ถึงเวลาลื้อระบบเรียนภาษาอังกฤษในประเทศนี้ครับ เพราะ เด็กไทยจริง ๆ แล้วไม่สนใจภาษาอังกฤษ แต่สนใจผ่านข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ สองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน อันแรกคือการใช้ภาษา อันที่สองคือการเอาตัวรอดเพื่อผ่าน  ถ้าคุณอยากเก่งอังกฤษเพื่อสอบผ่านอย่างเดียวก็เชิญครับ ทิ้งหนังสือเล่มนี้ไปในถังขยะ (อย่าไปทิ้งพื้น ไม่สวย และกลัวคนจะเหยียบภาพหน้าผมโดยบังเอิญหรือ ยิ่งไปกว่านั้นอีก บางคนอาจจะตั้งใจเหยียบ) และก็ทำตามที่คุณทำมานานคือ ท่องข้อมูลก่อนสอบ สะสมคะแนน แต่อย่าคิดจะเห่งอังกฤษครับ อย่าคิดอย่างนี้ผมเรียกว่า ทฤษฏีอาเจียนครับ คือเด็กไทย เมื่อรู้จะต้องสอบผ่านวิชาภาษาอัวดฤา มัวแต่ท่องกฏกติกา แถมไปสมัครที่โรงเรียนกวดวิชาแถวสีลม เพื่อฟังผู้เชี่ยวชาญทางด้านการอาเจียนข้อมูลสอนเท็คนิกการยัดข้อมูลใส่สมองชั่วคราวอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่ออ้วกออกมาเมื่อทำข้อสอบ
       อย่าเข้าใจผมผิด ผมไม่ได้ว่ากล่าวโรงเรียนกวดวิชาครับ เพื่อนผมหลายคนสอนหรือแม้เป็นเจ้าของสถาบันพวกนี้ ตอบสนองความต้องการอย่างดีของนักศึกษาที่ต้องการที่จะสอบผ่านอย่างเดียวโดยไม่สนใจภาษา สถาบันกวดวิชามีข้อดีสองอย่างคือ หนึ่ง เจ้าของสามรถร่ำรวยได้ ยิ่งมีเด็กเยอะก็ยิ่งกำไรสูง และ สอง ดีสำหรับลูกสิษย์ สามารถหนีพ่อแม่ครูหลังโรงเรียนเลิกเพื่อจีบหนุ่มสาวที่นั่งอยู่ข้าง ๆ ในห้องเรียน  ท่านผู้อ่านที่ขับรถเป็นทั้งหลาย จำได้ไหมสมัยฝึกการขับรถไหม สมมติว่าตอนนั้นคุณท่องคู่มือกฏจราจรอย่างเดียว ถ้าไม่ได้จับพวงมาลัยลองผิดลองถูกบนถนนหมู่บ้านที่โล่ง ๆ ของคุณก็คงไม่ได้ใบขับขี่ใช่ไหมครับ (นอกเสียจากว่าเอา 500 ใส่ซองแต่เราไม่แตะประเด็นนี้ได้ไหม)
       กลับมาที่ทฤษฏีอาเจียนดีกว่า หลักการทฤษฏีนี้ง่าย ๆ คือ พอยัดใส่ข้อมูลในสมองชั่วคราว ปละถึงวันสอบก็ อาเจียนข้อมูลออกมาหมดใส่ข้อสอบ อย่างนี้ก็สามารถสอบผ่านได้ทุกระดับทุกครั้ง จากมัธยมก็เข้ามหาวิมทยาลัยได้ ในที่สุดได้ใบนั้นที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นใบปริญญาตรี โท ปวช. ปวส. ม.6 ก็ตาม คุณก็สามารถคว้าได้โดยอาศัยทฤษฏีอ้วกครับ
       ปัญหาคือ เมื่ออาจียนข้อมูลออกมา ไม่มีอะไรติดตัว ไม่มีอะไรที่เหลือในสมอง เพราะมันไปหมดปล้ว และพอสมัครงานก็สิ่งที่ต้องผ่านให้ได้ยุคนี้ คือ English Job Interview
       ใช่แล้ว ยุคนี้สิ่งที่หนีไม่ผลในชีวิตนี้ห้าอย่างคือ เกิด แก่ สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ เจ็บ ตาย บางคนเลือกตายก่อนสัมภาษณ์งานอีก เพราะมีข่าวร้ายมาบอกคุณคือ  พวกนายจ้างไม่ค่อยสนใจ GPA ของคุณ หลายคนไม่ดู transcript ของคุณเลย แต่อยากได้คนที่สื่อสารกันได้ทางด้านภาษาอังกฤษ ถ้าคุณมัวแต่ท่องกฏเพื่อสอบผ่าน เชื่อผมสิ ถ้าคุณไม่ได้อ้าปากพูดอังกฤษเป็นประจำก็ แห้วแล้ว สอบตกสัมภาษณ์งานแน่ ๆ
       ผมเคยเป็นคนสัมภาษณ์งานเด็กที่จบปริญญาตรีเอกภาษาอังกฤษ GPA 4.0 แต่พูดอังกฤษไม่ได้เรื่อง ผมเชื่อว่า ถ้าถาม (เป็นภาษาไทย) ว่า present perfect tense คืออะไร หรือกริยาช่องที่ 3 ของกริยาสัก 10 คำคืออะไร เขาก็ตอบได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการพูดภาษาอังกฤษก็แทบไม่ได้  ถ้าคุณเคยทำอย่างนี้ หรือ กำลังทำอยู่ อย่าเพิ่งกลุ้มใจนะครับ เรียนที่รร.กวดวิชาต่อ ไม่แน่อาจจะพบแฟนในอนาคตได้ แต่ยังไม่น่าจะสายที่จะลบความคิดที่ผิดต่อภาษาครับ
       ถ้าคุณเลิกเน้นไวยการณ์ และหันมาใช้ภาษาอังกฤษแบบธรรมชาติ ความสามารถทางด้านไวยากรณ์ของคุณย่อมจะดีขึ้น เหลือเชื่อ แต่เป็นความจริง เมื่อเร็ว ๆ นี้มีผู้หญิงถามผมทาง twitter ว่า “ทำอย่างไรถึงจะเก่งอังกฤษ โดยเฉพาะไวยากรณ์อังกฤษ”
นี่คือคำตอบของผม
       “น้องครับ เอาตำราไวยากรณ์ของคุณทุกเล่มที่อยู่ในบ้าน กองไว้บนสนามหน้าบ้าน เสร็จแล้ว หาน้ำมันเชื่อเพลิงมาราดพวกหนังสือเล่มนั้น หาไม้ขีด และก็จุดเผาหนังสือทั้งหมด ดูแลเพลิงไหม้อย่างดีด้วย ไม่ต้องการเพื่อนบ้านคุณโทรเรียกตำรวจดับเพลิงมา เสร็จแล้วรีบไปที่ร้านหนังสือที่ขายหนังสือพวกเรื่องสั้น กับนวนิยาย หรือนิตยสาร ที่เป็นภาษาอังกฤษล้วน หาซื้อเรื่องง่าย ๆ ก่อน และก็อ่าน อ่านทุกเวลาที่สมัยก่อนคุณอ่านตำราสอนไยากรณ์อังกฤษ อ่านให้เยอะ เพราะว่าใครที่อ่านอย่างนี้ ในที่สุดจะต้องเก่งไวยากรณ์อังกฤษอย่างธรรมชาติ และจะเก่งเร็วกว่าเด็กที่ท่องกฏจากตำราเพียงอย่างเดียว
       เมื่อก่อนผมซื้อหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรท์ของไทยทุกเล่มมาอ่าน ผมก็ได้ความรู้ทางด้านทำนอง ลีลา วิธีเรียงประโยคอย่างถูกต้อง ยิ่งมากกว่าตำราสอนภาษาไทยอีก ยอมรับว่าหลายเล่มผมอ่านไม่รู้เรื่องแต่หลายเล่มก็รู้เรื่องเหมือนกัน ทำอย่างนี้สิครับ หาหนังสือดี ๆ ง่าย ๆ เป็นภาษาอังกฤษมาอ่าน เมื่อเริ่มรู้เรื่องก็ หันมาดูกฏไวยากรณ์ได้  เมื่อหลายปีที่แล้วผมก็เขียนหนังสือชื่อ วิธีพูดภาษาอังกฤษเหมือนฝรั่ง ที่ผมรวบรวมกฏสิบข้อที่ผมแนะนำให้ใช้เพื่อให้คุณเก่งการสนทนาภาษาอังกฤษ ใครจะไปเชื่อว่า หนังสือเล่มนั้นขึ้นอันดับหนึ่งหนังสือขายดีมาหลายสัปดาห์ ยอดขายตอนนี้ทะลุ 250,000 เล่ม และยังมียอดขายจนถึงวันนี้ครับ ถ้ามีเวลาก็รีบหาที่ร้านหนังสือเพราะมีข้อแนะนำมากมายที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ ดาวน์โหลดเป็น e-book ทางอินเตอร์เน็ตได้แล้ว นอกจากประโยชน์นั้นถ้าชื้อเยอะผมก็จะได้ผ่อนบ้านให้สำเร็จ ทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความสุขครับ
       แต่จากประสบการณ์ที่ผมได้จากการเรียนภาษาไทยผมพร้อมที่จะนำเสนอที่ผมเรียกว่า The Daily Five หรือ สิ่งห้าอย่างที่คุณต้องทำทุกวัน ใช่แล้ว ทุกวัน แต่ละอย่างใช้เวลา 10 นาทีถึงครึ่งชั่วโมง แต่ขอร้องเถอะ ทำทุกอย่างโดยไม่มีการพึมพำว่ามันยาก ทำไม่ได้ เกินความสามารถของฉัน ตกลงกันไหม
       ต่อไปนี้คือห้าอย่างนั้นครับ
1. Read the newspaper every day
หมายถึง อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน สามารถเลือกระหว่าง Bangkok Post หรือ The Nation หรือสื่อ online เช่น www.cnn.com หรือ www.bbcnews.com แต่ผมว่า Bangkok Post หรือ Nation ดีที่สุดครับ
เพราะอะไร ก็เพราะว่าสองฉบับนี้ลงข่าวชิ้นเดียวกับหนังสือพิมพ์ไทย
สมมติว่าเที่ยงวันนี้ผมแก้ผ้าวิ่งกลางถนนสีลมพร้อมตะโกนร้องเพลง ลูกเทวดา คืนนี้ข่าวนี้ต้องมีนักข่าวช่องเจ็ดรายงานสดจากหน้าพัฒน์พงษ์เลย เย็น ๆ ก็หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ เดลี่นิวส์ คมชัดลึก ต้องออกข่าวหน้าหนึ่ง พาดหัวข่าวใหญ่เช่น “แอนดรูว์อาลาวาด! วิ่งสีลมเปลือยกาย” “แอนดรูว์เพี้ยน ร้องเพลงเพี้ยนด้วย” คืนนี้คุณกิตติคงรายงานข่าวทางช่องสาม พรุ่งนี้เช้าสรยุทธ์ก็เล่า
ทั้งหมดนี้เป็นภาษาไทย คุณรู้เรื่อองนี้อย่างดี ในที่สุดคุณหาหนังสือพิมพ์ฝรั่ง หาข่าวชิ้นนี้และก็อ่าน ชึ่งอาจมีพาดหัวข่าวเช่น
Naked Andrew goes crazy on Silom!
ผมแนะนำให้อ่านข่าวชิ้นนี้โดยไม่จำเป็นเปิดพจนานุกรมกับทุกคำที่ไม่รู้จัก แต่อาศัยสามันสำนึกแทน คุณก็รู้เรื่องรายละเอียดข่าวนี้แล้ว คุณก็เดาความหมายได้ อย่างเช่นดูพาดหัวข่าวที่ผมสมมติอขึ้นมาเมื่อสักครู่นี้ครับ ประธานคือ Naked Andrew แค่คุณอาจไม่เคยเห็นคำว่า naked มาก่อน แต่คุณสามารถเดาความหมายได้จากบริบทเพราะ ในข่าวนี้ผมแก้ผ้าหมด น่าจะเดาว่า naked คือการแก้ผ้า เปลือยกาย … ซึ่งเป็นการเดาที่ถูกต้อง ส่วน goes crazy ในพาดหัวนี้น่าจะเป็นกริยาที่เกี่ยวข้องกับความหมายว่า ทำตัวเหมือนคนบ้า หรืออาลาวาด ซึ่งถูกเหมือนกัน เห็นไหมล่ะ รู้ข่าวมาก่อนทำให้คุณเดาความหมานได้ง่ายขึ้น  เสน่ห์ของหนังสือพิมพ์ฝรั่งในประเทศไทยคือเขารายงานข่าวที่คุณรู้อยู่แล้ว อยู่ใกล้ชิดกับชีวิตคุณด้วยทำให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ
สมัยที่ผมเรียนภาษาไทยผมก็เริ่มอ่านหนังสือพิมพ์ไทยทุกวัน วันละ 15 นาทีเท่านั้น ในช่วงแรกผมงงกับตัวย่อทั้งหลาย งงกับศัพท์แสลงที่ปรากฏอยู่หน้าหนึ่ง งงกับโครงสร้างประโยคที่กระชับรัดกุม ผมเลยเริ่มต้นกับพาดหัวข่าวอย่างเดียว โดยในช่วงแรกอ่านและแทบจะไม่รู้เรื่อง แต่พออ่านเสร็จแล้วถามตัวเองว่า “คุณคิดว่าข่าวชิ้นนี้เกี่ยวกับอะไร” ทราบไหมครับ ส่วนใหญ่จะเดาถูกครับ
 ตอนนั้นผมหาข่าวจากต่างประเทศที่รู้เรื่องแล้ว และก็อ่านเป็นภาษาไทย เริ่มเข้าใจการอ่านทีละเล็กละน้อย เริ่มเข้าใจว่า โครงสร้างประโยคที่ใช้ในหนังสือพิมพ์ไทยมักจะคล้าย ๆ กันหมด เหมือนจะเป็นสูตรที่นักข่าวใช้ในการเขียนข่าว คำศัพท์กลับมาซ้ำ ๆ ตลอดจนบางครั้งเปิดพจนานุกรมเพราะเจอศัพท์นั้นบ่อย แต่ผมอาศัย “verb to เดา” ก่อนทุกครั้งก่อนเปิดพจนานุกรมครับ
       อาชีพผมเดิมเป็นนักหนังสือพิมพ์ครับ ตอนฝึกถูกสอนว่า เวลาเขียนข่าวนั้นต้องเขียนโดยใช้ภาษาง่ายขนาดเด็กอายุ 14 ปีสามารถอ่านรู้เรื่องได้ หนังสือพมพ์ฝรั่งจึงไม่ค่อยได้ใช้ภาษาที่สูงนัก ถ้าอ่านหนังสือพิมพ์ฝรั่งทุกวันคุณจะค้นพบสิ่งน่าสนใจเหมือนผมนั่นคือ คำศัพท์ที่เราใช้กลับมาซ้ำ ๆ ตลอดเวลา โครงสร้างประโยคก็คล้าย ๆ กันหมด แม้โครงเรื่องก็เหมือนเดิมทุกครั้ง
ช่วงแรกจะงง แต่อ่านไปเรื่อย ๆ อีกไม่นานจะเห็นว่ามันซ้ำ ๆ ทำให้คุณคอย ๆ รู้เรื่อง คุณจะต้องไว้ใจผมในข้อมูลนี้เพราะผมเองเคยผ่านช่วงที่คุณกำลังอาศัยอยู่คือ ช่วงงงกับภาษาที่ไม่เป็นภาษาแม่ของเรา แต่ผมทำไปเรื่อย ๆ จนถึงข้อมูลบนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ไทยเริ่มกระจางชัดขึ้น
ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการอ่านหนังสือพิมพ์ฝรั่งมี 4 คำแนะนำดังนี้ครับ
1. อย่าอ่านทั้งฉบับนะครับ แหมแต่ละวันมีเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น ทำเหมือนเจ้าของภาษาและเลือกข่าวสักชิ้นหนึงที่น่าสนใจในสายตาคุณ คุณเป็นแฟนทีมแมนยูก็รีบไปหน้ากีฬา ชอบ เลดี้กาก้า ก็ไปหน้าบันเทิง อยากรู้ว่านักการเมืองในประเทศนี้กำลังทำอะไรที่ไม่ถูกก็หน้าหนึ่งมักจะมีข่าวอย่างนี้ แต่ช่วงแรก ๆ ก็เลือกข่าวชิ้นเดียวน่าจะพอ
2. อ่านไม่เกิด 10-15 นาทีครับต่อวันครับ ชีวิตเรายุ่ง ไม่อยากให้งานหรือกิจกรรมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันของคุณเสียเพราะอ่านหนังสือพิมพ์ฝรั่งนานเกินไป
3. ข่าวชิ้นนั้นอ่านเพียงย่อหน้าแรกน่าจะรู้ข้อมูลสำคัญกันหมด นี่คือไสตล์ของหนังสือพิมพ์ฝรั่งที่เหมือนหนังสือพิมพ์ไทยคือ ข้อมูลสำคัญที่สุดต้องอยู่ย่อหน้าแรก
ขอยกตัวอย่างครับ ดูข้อมูลดังต่อไปนี้ครับ
       เมื่อวานสมชายตื่นตอนหกโมง
       อาบน้ำอำลาแฟนขับรถไปทำงาน
       ระหว่างทางเกิดอุปัติเหตุทางรถยนต์
       สมชายชนผู้หญิงซึ่งผู้หญิงคนนั้นเสียชีวิตทันที
       สมชานเสียใจจนโทรหาแฟนร้องให้
       ตำรวจมา จับกุมสมชาย
นี่คือการเล่าเรื่องตามลำดับหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า chronological order (คำยาวนั้นออกเสียงว่า ครอ-นอ-ลอ-จิ-คึล) ชึ่งหนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นไทยหรืออังกฤษ ไม่เล่าอเรื่องย่างนี้ เขาจะดึงข้อมูลสำคัญที่สุดมาใช้เป็นข้อหน้าแรก ข้อมูลรองก็อยู่ย่อหน้าสอง ส่วนการเริ่มเล่าเรื่องตามลำดับน่าจะเริ่มในย่อหน้าที่สี่หรือหาหรือหก  ในข่าวสมชายนั้นย่อหน้าแรกต้องเป็นประมาณว่า
เกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน หญิงตายหนึ่งคน จับกุมชายหนุ่มขัลรถประหมาด
(แล้วในกรณีที่ผู้หญิงคนนั้นมีชื่อเสียง อาจเป็นดาราดัง เรื่องราวเกี่ยวกับสมชายอย่างที่เล่าในโครงเรื่องตามลำดับนั้นแทบจะหายไปหมด คงไม่มีการพูดถึงสมชายนอกเสียจากว่าตำรวจจับเขา เพราะการที่ดาราเสียชีวิตนั้นถือว่าน่าสนใจมากกว่าข่าวที่ชายหนุ่มไม่ดังชนรถคันอื่น)
การเขียนข่าวอย่างนี้เราเรียกว่า inverted pyramid หรือ สามเหลี่ยมกลับหัว ข้อมูลสำคัญที่สุดอมาก่อน และค่อย ๆ ลงมาเรื่อย ๆ ตามความสำคัญ เพื่อเร้าใจผู้อ่าน และเพื่ออำนวยความสะดวกในการตัดเรื่องหามันยาวไและพื้นที่ไม่พอลเพื่อลงหมด (ปัญหาประจำในการจัดหน้าหนังสือพิมพ์)
จ้อมูลสำคัญนั้นควรครบทุกคำถามคือ who (ใคร) what (ทำอะไร) when (ตอนกี่โมง) where (ที่ไหน) why (เพราะอะไร) how (โดยใช้วิธีใด) เด็กเอกสื่อสารมวลชนรู้เรื่องนี้อย่างดี
สรุปว่าอ่านเพียงย่อหน้าหนึ่งถึงสามน่าจะพอกับข่าวแต่ละชิ้น นี่คือวิธีขาวต่างชาติอ่านหนังสือพิมพ์ของเขาเองครับ ไม่จำเป็นต้องอ่านให้หมด แค่จับประเด็นสำคัญก็พอ

4. พาดหัวข่าวฝรั่งมีเคล็ดลับในการอ่าน
นั่นคือ
4.1 มักจะละทิ้ง verb to be คือ is, am, are, was, were เพราะถือว่าเป็นคำฟุ่มเฟือย เช่น
PM sick
ที่จริงพาดหัวนี้คือ PM is sick หรือ นายกรัฐมนตรีป่วย แต่ is ถือว่าเราเข้าใจแล้ว พื้นที่จำกัดต้องทำทุกวิธีทางเพื่อประหยัดพื้นที่ เลยตัด is ออก (ไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถไม่พูด หรือไม่ใช้ verb to be เวลาพูดหรือเขียนสิครับ!)
การใช้ verb to be ใน passive voice ก็เหมือนกันครับ เช่น
Dog bitten by man
พาดหัวนี้คือ Dog is bitten by a man แต่เราตัด is ออกจากโครงสร้าง passive voice (to be bitten = ถูกกัด) ความหมายของพาดหัวข่าวนี้คือ หมาโดนผู้ชายกัด ถือว่าเป็นข่าวน่าสนใจมากกว่า ผู้ชายโดนหมากัด
เพื่อประหยัดพื้นที่ พาดหัวข่าวฝรั่งตัด a กับ the ออกเช่นกันครับ
4.2 อัญประกากหมายถึง ความคิดเห็น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
อย่างเช่นพาดหัวข่าวอย่างนี้
Andrew is “most handsome farang in Thailand”
ความหมายคือ มีคนออกความคิดเห็นว่า แอนดรูว์เป็นฝรั่งรูปหล่อที่สุดในประเทศไทย มันไม่ใช่ข้อเท็จจริง (แน่นอนอยู่แล้ว) เป็นข้อมูลที่มีคนอ้างว่าจริง จึงจะใช้อัญประกาศ
4.3. พาดหัวอยู่ใน present tense แต่เนื่อเรื่องอยู่ในรูป past tense
เรามักจะเขียนพาดหัวข่าวในรูปปัจจุบัลการ เพื่อเน้นความทันสมับของข่าว เหมือนกับว่ามันกำลังจะเกิดขึ้น ฌ บัดนี้ แต่เนื้อเรื่องจะเล่าข่าวในรูปอดีตกาล เพราะที่จริงแล้วเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ที่ได้ผ่านไปก็อยู่ในอดีต จำเป็นต้องเล่าในอดีต
4.4. ตัวย่อเพียบ
พาดหัวข่าวฝรั่งชอบใช้ตัวย่อเหมือนพาดหัวข่าวไทย เช่น PM คือ Prime Minister หรือ นายกรัฐมนตรี BMA คือ Bangkok Metropolitan Administration หรือ กทม. ของเรา หรือ Govt คือ Government หรือ รัฐบาล ถ้าไม่แน่ใจว่ามันย่อมาจากอะไรก็ลองอ่านเนื้อข่าว ชื่อเต็มของตัวย่อนั้นน่าจะอยู่ย่อหน้าที่หนึ่งหรือสองครับ
4.5 การใช้ colon หรือ : เป็นการอ้างถึงแหล่งข้อมูล
อย่างเช่น
Survey: Andrew most handsome farang
หมายถึง ผลการสำรวจปรากฏว่า แอนดรูว์เป็นฝรั่งรูปหล่อที่สุด หรือ
Andrew: I’m excited to be most handsome farang
ความหมายคือ แอนดรูว์บอกว่าตื่นเต้นที่ได้รับโหวดเป็นฝรั่งรูปหล่อที่สุด
ฝันไปเถอะน่ะแอนดรูว์

สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากกับหัวข้อนี้คือ ยุคนี้หนังสือพิมพ์หลายฉบับกำลังหายไป เนื้องจากความเปลี่ยนแปลงทางเท็คโนโลยี คนส่วนใหญ่ได้ข่าวมาจากโทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน้ต ผมอยากให้คุณสนับสนุน Bangkok Post กับ Nation โดยสมัครเป็นสมาชิก หรือซื้อจากแผง แต่ในกรณีที่ไม่สามารถซื้อได้ ก็สามารถอ่านข่าวได้จากเว็บไซท์ของเขา Bangkok Post จะหาได้ที่ www.bangkokpost.com ส่วนเนชั่นก็ไปที่ www.nationmultimedia.com แต่ขอย้ำว่า ชื้อก็ดีครับ ผมเองเป็นสมาชิกทั้งสองฉบัยส่งที่บ้าน คุณก็น่าจะเป็นเหมือนกัน

2. Watch Movies and TV Shows … but no Thai!
วันที่สามที่ผมอยู่เมืองไทยอากาศร้อนขนาดคิดจะเป็นลม ตอนนั้นอยู่แถวสยามสแควร์ ผมหนีี้แดดโดยเข้ามาบุญครอง (สมัยนั้นไม่มีเรียก MBK นะครับ นี่คือยุคโยราณที่คนไทยยังภูมิใจภาษาของเขาเอง ไม่คิดจะทำลายชื่อโดยย่อเป็นสามตัวอักษรฝรั่ง)
ผมสังเกตว่าชั้นหนึ่งตอนนั้นมีโรงหนังขนาดเล็กที่น่าจะมีเครื่องแอร์ ผมเลยซื้อบัตรไปนั่งคนเดียวและดูภาพยนตร์ซึ่งจำชื่อไม่ได้ ผมนั่งพักผ่อนดูเรื่องโดยฟังภาษาไทยไม่รู้เรื่อง รู้แต่ “ขอบคุณคะ” ที่นางเอกพูดในบางฉาก แต่ถึงแม้ว่าฟังไม่ออก ผมก็ยังเดาเนื้อเรื่องได้ สามารถเดาความหมายของแต่ละฉาก ใครเป็นพระเอก นางเอก มารร้าย จึงจำเป็นต้องดูเรื่องนั้นให้จบ
ผมอยากให้คุณทำอย่างนี้กับหนังฝรั่ง
โอกาสหน้าที่จะซื้อหรือเช่าดีวีดีหนังฮอลลีวูด หรือขอยืมจากเพื่อน (ซึ่งถ้าเรื่องมันส์ก็ลืมคืน) และเปิดตลับ นำแผ่นเข้าเครื่องเล่นดีวีดีของคุณ ใส่เสร็จแล้วก็หยิบรีโมท ไปกดที่เมนู …
… ห้าม
… ห้ามโดยเด็ดขาด …
... ห้ามไปที่ “ภาษา” และกด “ภาษาไทย”
ผมไม่ต้องการที่จะมี แบรดพิทท์ หรือ แอนเจลีนาโจลี มีภาษาไทยออกจากปากพวกเขา ยิ่งไปกว่านั้นอีก ผมไม่ต้องการภาษาไทยวิ่งส่วนล่างของจอ แม้ภาษาอังกฤษวิ่งก็ไม่เอา ทุกคน … หยุดวิ่งซะ
เข้าใจไหมครับ ผมอยากให้คุณชมภาพยนตร์เรื่องนั้นด้วยสายตา และหู ไม่ต้องการที่จะให้คุณอ่านอะไร
คนไทยนี่แปลก แทบจะไม่มีใครดูหนัง มีแต่คน “อ่าน” หนังครับ ที่จริงเวลาชวนใครไปดูหนังคนไทยน่าจะบอกว่า “ไปอ่านหนังกันไหม” เพราะตราบใดที่มีตัววิ่งข้างล่าง ก็ไม่มีใครสนใจการฟัง ยิ่งภาษาอังกฤษที่ออกจากปากพวกนักแสดง
ลองอ่านซับภาษาไทยพร้อม ๆ ฟังภาษาอังกฤษ สมองมนุษย์เรารับทั้งสองวิธีไม่ได้ นี่คือสาเหตุเวลาต้องนำเสนออะไรโดยใช้ พาวเวอร์พอยน์ท นั้นไม่ควรมีคำศัพท์มากมายบนจอ เพราะมนุษย์เราจะเลือกที่จะอ่านหรือฟัง ทำทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กันไม่เป็น
ถ้าคุณอยากเก่งภาษาอังก คุณต้องเริ่มต้นถนัดการฟังก่อน และวิธีหนึ่งที่จะช่วยคุณฟังเก่งขึ้นคือ ชมหนังโดยไม่มีภาษาไทย ไม่มีซับภาษาไทย แม้ไม่มีซับภาษาอังกฤษ
ถ้าทำตามที่ผมแนะนำ รับรองว่า หนังเรื่องแรกคุณจะงงสุดขีด
ใช่แล้ว จะนั่งชมหนังด้วยหน้านิ่วคิ้วตลอด ตอนจบคงบ่นว่า “แหม เข้าใจไม่ถึง 10 เปอร์เซนท์ของเรื่อง”
เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่ผมย้ำมาหลายรอบแล้วว่า ทัศนคติที่ถูกคือครึ่งหนึ่งในการที่จะเก่งภาษาอังกฤษ รู้ไหม ถ้าเข้าใจเพียงร้อบละสิบของเรื่องนั้นถือว่าดี! เป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก เรื่องต่อไปคุณจะเข้าใจ 12 เปอร์เซ็นท์ เรื่องที่สามจะเข้าใจ 13.5 เปอร์เซนท์ เรื่องที่สี่ก็ 15 เปอร์เซนท์ นี่แหละครับ การพัฒนา นี่คือวิธีที่จะเพิ่มทักษะการฟัง  ถ้าคุณชมหนังอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ สิ่งมหัศจรรย์จะเกิดขึ้นอีกไม่นาน นั่นคือ คุณจะเริ่มฟังรู้เรื่อง จะเริ่มจักคำ และโครงสร้างประโยค ที่ฝรั่งใช้บ่อย   เช่นเดียวกับการรายการข่าวทางโทรทัศน์หรือวิทยุ ฟังไปเรื่อย ๆ ครับ และเล่นเกมคือ จับคำที่รู้จัก แค่นี้ ห้ามรู้สึกผิดหวังกับการที่ฟังทั้งหมดไม่รู้เรื่อง ภาษาอังกฤษเต็มไปด้วยศัพท์เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกคำ แค่จับประเด็นหลักก็พอ
เมื่อผมแนะนำอย่างนี้คนไทยมักจะต่อต้านผมโดยบอกสองอย่างคือ
1. ฝรั่งพูดเร็วมากเวลารายงานข่าว นี่คือเรื่องจริง แต่ผมมีอะไรจะบอกคุณครับ … คือ คนไทยก็เหมือนกัน! สมัยที่ผมเรียนภาษาไทยผมเคยคิดอย่างคุณ ช่วงแรก ๆ ที่นั่งดูรายการข่าวทางทีวีไทยผมก็งงเหมือนกัน ไม่น่าเชื่อว่าเขาพูดเร็วขนาดนี้ “โอโห ไม่มีวันที่ผมสามารตามทันได้” ผมเคยคิด แต่ดูสิครับ ไม่ใช่ว่าตอนนี้ผมก็ฟังรู้เรื่องหมดแล้ว … แถมผมเองเป็นหนึ่งในกลุ่มนั้นที่รายงานข่าวอย่างเร็ว! ชีวิตนี้ช่างจะตลกดี!
ขอพูดอีกที อย่ากังวลเรื่องที่ว่าฟังไม่รู้เรื่อง เป็นการกังวลที่ทุกคนรู้สึกเวลาฝึกภาษาที่สองครับ แต่ฟังไปเรื่อย ๆ ครับ จุดประสงค์ในช่วงแรกไม่ใช่ว่าต้องเข้าใจ แต่อยากให้หูคุณมีประสบการณ์กับการฟังอังกฤษ และจะเห็นเองว่าอีกไม่นานจะเริ่มฟังรู้เรื่อง และในวันนั้นผมเชื่อว่าคุณจะเกิดความรู้สึกอยากวิ่งมาหาผมเพื่อกอดอย่างแน่น
2. “ในหนังฮอลลีวูดศัพท์สแลงเยอะ” ถูกต้องแล้วครับ ยิ่งจากอเมริกาบางครั้งเขาพูดอะไรไม่รู้ โชคดีที่เวลาผมฟังไม่ทันผมก็สามารถรีบอ่านซับภาษาไทยเพื่อเข้าใจเรื่อง เห็นไหมล่ะ ผมในฐานะเป็นฝรั่งร้อยเปอร์เซนท์ (ยกเว้นหัวใจ รู้สึกกลายเป็นไทยตั้งนานแล้ว) ก็ยังไม่เข้าใจที่เขาพูดแบบทั้งหมด แต่ผมก็สามารถเดาความหมายได้
ถึงเวลาที่คุณจะต้องใจเย็น ๆ สักนิดกับการฟังหนังและรายการทีวีของฝรั่ง เพราะถ้าอยากเก่งภาษาอังกฤษผมว่าต้องเริ่มกับการฟังก่อน เมื่อฟังรู้เรื่องก็ ถึงเวลามีอะไรออกจากปากของคุณ และพูดถึงปากของคุณแล้วก็ …

3. Sing!
ผมเล่าให้คุณฟังแล้ว สมัยที่ผมจมน้ำภาษาไทยผมก็เปิดฟังวิทยุทุกโอกาศ หาคลื่อนเพลงไทยและฟังตลอด ร้องตามเพลงไทยเพราะสนุก และได้ศัพท์แสลงมากมาย
ผมมาเมืองไทยไม่ทันเพลง Welcome To Thailand ของคาราบาวรู้สึกเพิ่งจะขึ้นอันดับเพลงไม่กี่ปีก่อนที่ผมมา แต่ก็ยังนิมอยู่ในปีแรกที่มาเมืองไทย โดยที่เขาร้องว่า
“Tom Tom, where you go last night?”
“I like เมืองไทย I like Patpong.”
ซึ่งพอฟังแล้งหงุดหงิดอยู่สามประการคือ ก. ที่ถูกคือ Where did you go? ไม่ใช่ Where you go? คำว่า did หายไปไหนล่ะแอ๊ด ข. ไม่มีฝรั่งที่รู้จักคำว่า เมืองไทย ก็เลยคนที่เลียนเสียงฝรั่งโดยร้องว่า “I like เมืองไทย” ก็ไม่ธรรมชาติ และที่สำคัญที่สุดคือ ค. ไม่ใช่ว่าฝรั่งทุกคนที่มาเมืองไทยไปอุดหนุนพัฒน์พงศ์อย่างที่เขาร้อง ฝรั่งบางคนนั่งที่บ้านทุกคืนท่องคำศัพท์ภาษาไทยเพื่อเก่งภาษานั้น wได้กลิ่นของ ฝรั่งน้อยใจ หรือยัง
ในช่วงหนึ่งสองปีแรกที่มาเมืองไทยมีเพลงมากมายที่ช่วยผมเข้าใจภาษาไทยอย่างดี ซึ่งเรื่องนี้เล่าให้ฟังแล้ว แถมช่วยเปิดเผยให้เห็นถึงค่านิยมวัฒนธรรมของคนไทย เช่น
·  “ไม่อ้วนเอาเท่าไร” ของ มาลีลา บราซิลเลีย ทำให้เราเข้าใจว่าสาวไทยไม่ชอบพกแฟนรูปร่างท้วม นอกเสียจากว่าแฟนนั้นเป็นเศรษฐีพันล้าน อ้วนเท่าไรก็รับได้
·      หมื่นล้านเพลง ของบิลลี่โอแกน ทำให้ผมเข้าใจถึงการนับเลข (ลาออก ของบิลลี่โอแกน ก็สอยนวิธีแก้แค้นเจ้าน
·      “5 กอ 5 ยอ” ของ เทียรี่ย์ สอนให้เราเข้าใจวิธีย่อคำในภาษาไทย (แถมสอนคำว่า เกือก หลังจากที่ตำราสอนภาษาไทยระเคยระบุว่าต้องเรียกว่า รองเท้า แหมตำราวิชาการล่ะ ไว้ใจไม่ได้หรอก)
·      “ยินดีไม่มีปัญหา” ของอัศนีย์ วศัน ได้เรียนรู้การทักทายที่ถูกต้อง และวัฒนธรรมไทยที่ว่าคนไทยพูดว่า ไม่มีปัญหา ในทุกสถานการณ์รวมถึงกรณีฉุกเฉินที่สุด
·      “สุด ๆ ไปเลย” ของ ไมโคร ทำให้ผมเข้าใจถึงวิธีการใช้คำว่า เลย เพราะเท่าที่จำได้ทุกเพลงในอัลปัมนั้นลงท้ายด้วยคำว่า เลย (เป็นคำที่ฝรั่งออกเสียงยากมาก เพราะภาษาอังกฤษไม่มีสระ เอย เรามักจะออกเสียง เลย ว่า ลอย)
·      และเพลงนั้นซึ่งทุกคนเวลาเมาก็ร้องแบบ บิน บิน บิน บิน ปายยยยยยยยย ก็ทราบถึงวิธีการบินของนกในเมืองไทย เพราะทุกครั้งที่เพลงนี้เปิดในผับ หนุ่มสาวทุกคนต้องลุกมาสาธิตให้ดูนกบินทันที (เมื่อต้นปี 2555 ผมมีโอกาสไปเชียงรายเพื่อเป็นพิธีกรบนเวทีงานดนตรีโลกของทอดด์ ทองดี ซึ่ง หงาคาราวาน เล่นด้วย เพิ่งทราบคืนนั้นหลังจาก 23 ปีว่า เพลงนี้ไม่เกี่ยวกับนกเลย ความรู้มาช้าแต่ก็ดีกว่าไม่มา)
·       “ผู้หญิง” ของเทียรี่ ที่ทำให้ผมเข้าใจถึงความลึกซึ้งที่คนไทยมีต่อคุณแม่ (แล้วคุณพ่อล่ะ)
·      “พริกขี้หนู” ของเบิร์ด ทำให้ผมรับรู้การสร้างคำด้วยคำว่า ขี้ ก่อนนั้นคิดว่าเป็นคำหยาบคาย หลังจากนั้นได้ค้นพบเรียนรู้คำศัพท์เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว ขี้งอน ขี้แพ้ และที่ใกล้ชิดที่สุดคือ ขี้นก
อย่างไรก็ตามผมได้ความรู้มายการจากเพลงไทย ผมก็อยากให้คุณทำอย่างนี้กับเพลงอังกฤษยุคนี้ง่ายกว่ายุคเก่าครับ สมัยก่อนเราฟังวิทยุถ้าชอบเพลงก็ต้องไปหาแผงและซื่้อเทปทั้งตลับ อาจชอบเพียงเพลงเดียวแต่ต้องทนอีก10เพลงที่ไม่ได้เรื่องเพื่อฟังเพลงโปรด   สมัยนี้แค่ฟังแล้วก็หาทางอินเตอร์เน็ตเพื่อดาวน์โหลดฟรี ดังนั้นอาศัยเพลงอังกฤษซักหน่อยเพราะเป็นวิธีสุดยอดที่เรียนแบบสนุกสนาน ได้เพลิดเพลิงกับเพลง และจะได้เรียนรู้กับศัพท์สแลง โครงสร้างประโยคแปลก ๆ และวิธีบอกรักอย่างมีความหลากหลาย   นอกจากเพลงวัยรุ่นที่มาฮิตชั่วคราวและก็หาย มีเพลงอมตะมากมายที่มีเนื้อเพลงเพราะดี ทำให้คุณสัมผัสกับความไพเราะของภาษาด้วยครับ เช่น
More Than I Can Say ร้องโดย Leo Sayer
ต้องยอมรับว่าผมเองไม่ค่อยชอบเพราะเน่า ๆ หน่อยแต่เนื้อเพลงเสนอวิธีบอกรักมาหลายรูปแบบรวมถึง
I love you more than I can say.
(ฉันรักเธอมากกว่าสามารถพูดได้)
I’ll love you twice as much tomorrow.
(พรุ่งนี้จะรักคุณยิ่งกว่านี้ เป็นทวีคูน)
I love you every single day.
(ฉันรักเธอทุก ๆ วัน ไม่ขากแม้แต่วันเดียว)
ถ้าถามผมส่วนตัวคิดว่าเพลงไหนเพราะ และเสนอเนื้อหาที่ดี ลองฟังเพลงเหล่านี้ครับ

เพลงอมตะ เก่าแกแต่คลาสสิก ยังไม่เน่า
1. Smoke Gets In Your Eyes
2. Misty
3. As Time Goes By
4. The Man I Love
5. What A Wonderful World

เพลงรักที่สื่อความหมายดี
You Are So Beautiful (Joe Cocker)
The First Time Ever I Saw Your face (Roberta Flack)
Bridge Over Troubled Water (Simon & Garfunkel)
Best Of My Love (Eagles)
To Sir With Love (Lulu)
You’ve Got A Friend (Carole King)
Wonderful Tonight (Eric Clapton)
Unchained Melody (Righteous Brothers)
I Will Always Love You (Whitney Houston)
This Guy’s In Love With You (Herb Alpert)
Close To You (Carpenters)
Let’s Stay Together (Al Green หรือ Tina Turner)
Cruisin’ (Smokey Robinson)
The Way We Were (Barbra Streisand)
Loving You (Minnie Riperton)
How Deep Is Your Love (Bee Gees)
Kiss From A Rose (Seal)
Landslide (Fleetwood Mac หรือ Dixie Chicks)
White Flag (Dido)
แต่ที่จริงความชอบ หรือ ไม่ชอบ ก็ขึ้นอยู่กับคุณเองนะครับ ขอให้เดินทางผจลภัยกับเพลงฝรั่งอย่างสนุกสนานนะครับ และอีกไม่นานจะเริ่มคุ้นเคยกับภาษาของเรา

4. Keep a Diary
คนไทยกลัวภาษาอังกฤษมาก เช่น นักศึกษาเห็นว่ามี tense ทั้งหมด 12 tense และท่องจำยาก
       เป็นวิธีการมองภาษาอังกฤษที่ผิดมาก เพราะที่จริงแล้วมีเพียงแค่ไม่กี่ tense ที่เราใช้บ่อย ถ้าถามผมแล้วผมอยากให้คุณให้ความสำคัญกับ past tense กับ present perfect tense กับ present continuous มากที่สุด (future ไม่ต้องกังวลเพราะมันง่ายอยู่แล้ว เติม will หรือ to be going to ก็พอ ส่วน present tense ก็ง่ายเหมือนกันเพียงแต่ว่าต้องเติม s กับกริยาในบางกรณี)
เวลามองอย่างนี้ก็ไม่น่ากลังหรอก มีเพียง 3 tense ที่จะต้องรู้อย่างดี แล้วจะเก่ง past tense หรือ อดีตกาล ได้อย่างไร ซึ่งผมเองยังคิดว่าคนไทยอ่อนกับการใช้นิดนึง  มีอยู่วิธีหนึ่งที่จะทำให้คุณเข้าใจถึงการใช้อดีตกาลของภาษาอังกฤษอย่างดี และทำให้คุณคุ้นเคยกับอดีตกาล โดยใช้เวลาไม่เกินวันละ 15 นาทีและไม่ต้องเสียเงิน นอกจากค่าสมุดเขียนราคาถูก
       เมื่อ 25 ปีที่แล้ว เพื่อนผมให้ของขวัญปีใหม่ที่เป็นสมุดบันทึกข้อความประจำวัน ภาษาอังกฤษเรียกว่า diary (ได-อะ-รี … อย่าสับสนกับ dairy ที่แปลว่า อาหารที่ทำจากนมซึ่งออกเสียงว่า แด-รี) ทีแรกไม่ได้คิดจะเขียนทุกวันแต่ตอนนั้นเป็นช่วงปีใหม่ก็เลยเริ่มกับวันที่ 1 กุมภาพัน เขียนสิ่งที่ผมทำในวันนั้น และก็ทำอย่างนี้ครบหนึ่งเดือนเต็ม ทุกวันก็หนึ่งหน้ากระดาษ ตอนนั้นเชื่อว่าอีกไม่นานคงเลิกสนใจเรื่องนี้แต่ไม่ ในที่สุดเขียนทุกวัน ๆ จนครบหนึ่งปีเต็ม ในปีถัดมาผมเลยซื้ออีกเล่มหนึ่งเองเพื่อเขียนต่อ  เชื่อไหมครับ ตอนนี้ในห้องนอนผมก็มีทั้งหมด 25 เล่ม ใช่แล้ว ผมเขียนสิ่งที่ผมทำทุกวัน ความรู้สึกที่ผมมีในแต่ละวัน ลงใน diary ผมมา 25 ปีติดต่อกัน ตอนนี้ผมสามารถย้อนกลับไปอ่านว่า ผมกินอะไรเมื่อ 5 หรือ 15 ปีที่แล้ว ปิ๊งใคร หงุดหงิดกับใคร ไปเที่ยวที่ไหน สุขภาพเป็นอย่างไร และโชคดีที่ผมทำอย่างนี้เพราะถ้าไม่ได้บันทึกประจำวันทุกวันในรอบ 25 ปีที่ผ่านมาก็แน่นอนครับ ต้องลืม
        สำหรับผมถือว่าเป็นการระบายความรู้สึกอย่างดี บางครั้งเรามีเรื่องคาใจที่ไม่สามารถบอกใครได้ ผมก็ลงเชียนใน diary ของผม โดยไม่มีใครอ่าน (ถ้ามีใครอยากแอบอ่านก็คงยังอ่านไม่ได้ ลายมือผมแย่กว่าพวกหมออีก) ผมได้ทำพินัยกรรมเรียบร้อยแล้ว และมีย่อหน้าหนึ่งที่ผมระบุว่า “ในกรณีที่ผมอำลาโลกนี้ ขอให้เพื่อนเอาสมุดบันทึกประจำวันของผมทุกเล่มกองเอาไว้ และก็เผาหมดเลย”
       กลายเป็นกิจวัตประจำวันของผมก่อนนอนว่า ต้องเขียนสิ่งที่ผมทำในวันนั้นเป็นเวลาสัก 5 นาที ก็มีความสุขครับ ผมอยากให้คุณทำอย่างนี้ แต่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ  รู้ไหมครับ ตอนนี้ผมสามารถพิมพ์ภาษาไทยได้คล่อง เรียนประโยค (กือบจะ) ถูก รู้เรื่องกับการสะกดคำภาษาไทยอย่างดีถึงแม้ว่าพวกการันต์ยังเป็นศัตรูผมเพราะจำไม่ได้เสียทีว่าควรลงอันไหนถึงจะสะกดถูก แต่ไม่ใช่ว่าผมเป็นอย่างนี้ตลอด สมัยก่อนผมเขียนภาษาไทยแย่ โครงสร้างประโยคมีกลิ่นฝรั่งทุกประโยค เลือกคำที่จะใช้ไม่ถูกกาลเทษะ  แล้วเกิดอะไรขึ้นที่ทำให้ผมเขียนได้ถึงระดับนี้แล้ว ผมก็จะบอกให้
       เมื่อปี พศ. 2536 เกิดสงครามในประเทศไทยระหว่างคนไทยกับ … กับใคร … พ่มามั้ย
ไม่ เขมรมั้ย ก็ไม่เชิง คำตอบคือ สงครามระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสำนักพิมพ์ผลิตพจยานุกรมอังกฤษชื่อดังคือ ลองแมน
       ในเดือนกรกาคมของปีนั้น ลองแมนออกพจนานุกรมใหม่ชื่อ “พจนานุกรมของภาษาและวัฒนธรรม” ซึ่งจุดเด่นคือ นิยามศัพท์แบบสบาย ๆ ไม่ทางการมากเหมือนพจนานุกรมทั่วไป
       คำศัพท์หนึ่งคือคำว่า Bangkok และเขานิยามกรุงเทพว่า “a city known for its Buddhist temples and a place where there are a lot of prostitutes” หรือ “กรุงที่มีชื่อเสียงด้านวัดของศาสนาพุธหลายแห่ง และโสเพณีจำนวนมากมาย”
       ตอนนั้นการตอบรับเล่มนี้จากคนไทยก็สามารถได้ยินเสียงโห่ดังขนาดอยู่สิงคโปรก็ยังได้ยิน รัฐบาลไทยออกมาประนามลองแมนอย่างแรง กรมตำรวจประกาศห้ามซื้อขายเล่มนี้ เพราะทำลายชื่อเสียงประเทศไทย มีการชุมนุมเพื่อเผาเล่มพจนานุกรมของลองแมน ถือว่าเป็นครั้งแรก และครั้งสุดท้าย ที่ประเทศนี้ให้ความสนใจและความสำคัญกับพจนานุกรมอังกฤษมากขนาดทั้งชาติหันมาสนใจ
       ตอนนั้นผมเป็นบรรณาธิการนิตยสารเนชั่นจูเนียร์ในเครื่อข่ายของเดอะเนชั่น ซึ่งอีกนิตยสารหนึ่งในเครื่อข่ายนั้นคือ เนชั่นสุดสัปดาห์ ท่ามกลางสถานกาณณ์วุ่นวายที่เกิดจากลองแมน บรรณาธิการนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์แวะมาหาผมที่โต๊ะ “คุณแอนดรูว์ช่วยเขียนคอลลัมน์เกี่ยวกับมุมมองของฝรั่งต่อสถานการณ์นี้”
       “เป็นภาษาอังกฤสใช่ไหม” ผมถาม
       “เป็นภาษาไทย”
       คืนนั้นผมกลับบ้านเขียนความรู้สึกเป็นภาษาอังกฤษ ใช้เวลาแปลเป็นไทยประมาณสี่ชั่วโมง เขียนแบบทะแม่ง ๆ วันรุ่งขึ้นบังคับลูกน้องเก่งคนหนึ่งชื่อ สิรินทร์ ปาลศรี (ซึ่งบังเอิ๊ญ บังเอิญ เป็นบรรณาธิการเล่มนี้ที่คุณกำลังอ่านอยยู่ตอนนี้) และคุณสิรินทร์ก็เรียบเรียงให้เป็นภาษาไทยที่พอใช้ได้ แล้วส่งไปยังบรรณาธิการ ถูกพิมพ์และได้รับความสนใจจากหลายคนเนื่องจากว่าเขียนตรงไปตรงมา และเขียนเป็นภาษาไทยด้วย
       การที่ถูกบังคับเขียนคอลลัมน์นั้นเป็นงานชิ้นใหญ่สำหรับผม เพราะก่อนนั้นไม่เคยได้เชียนอะไรยาวขนาดหนึ่งหน้าเต็มของนิตยสาร และถึงแม้ว่ากินเวลามาก ผมก็ประทับใจกับผลงานที่ออกมา
จบเรื่อง
อย่าเพิ่งครับ ยังไม่จบ
สัปดาห์ถัดไปท่านบรรณาธิการขึ้นมาหาผมอีกครั้งหนึ่ง
“คอลัมน์ของคุณแอนกรูว์อยู่ไหน” เขาถามด้วยรอยยิ้มสยามอันกว้างขวาง
“คอลลัมน์อะไร ก็ผมส่งคุณตั้งแต่อาทิตย์ที่แลว”
“ไม่ใช่คอลลัมน์นั้น คอลัมน์สำหรับอาทิตย์นี้”
ปรากฏว่าเมื่อสัปดาห์ก่อนผมเข้าใจผิด นึกว่าต้องเขียนเพียงเรื่องเดี่ยว แต่ไม่ใช่ ตอนนั้นผมตกลง โดยไม่รู้ตัวว่าจะเขียนคอลลัมน์ทุก ๆ สัปดาห์ที่เป็นมุมมองของฝรั่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ภายใต้ชื่อคอลลัมน์ว่า “เมืองไทยในสายตาผม”
ทีแรกผมก็ช็อค เพราะไม่คิดจะต้องสละเวลาทุกสัปดาห์นานแสนนานเพื่อเขียนภาษาไทย แต่ในที่สุดก็ยอม และเริ่มเขียนทุก ๆ อาทิตย์เป็นเวลาแปดปีครับ
การที่ผมจำเป็นต้องเขียนบทความเป็นประจำเป็นสิ่งเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้ผมค่อย ๆ รู้เรื่องเกี่ยวกับการเขียนภาษาไทย ก่อนนั้นเคยทำคอร์สเขียนแต่ไม่ได้ผล เคยซื้อหนังสือที่พยายามสอนวิธีเรียนประโยคที่ถูกต้องแต่ผมอาจเป็นลูกศิษย์ที่ไม่เก่ง ไม่ดี เพราะไม่ได้ผลเลยเท่ากับ นั่งเขียนคอลลัมน์ประจำ
มีปรากฏการเกิดขึ้นที่ผมไม่คาดคิด คือเวลาที่ใช้ในการเขียนลดลงโดยไม่รู้ตัว จากหกชั่วโมงเพื่อเขียนก็กลายเป็นสี่ชั่งโมง หลังจากสักพักหนึ่งก็ขี้เกียจแปลโดยใช้มือเขียนก็เลยฝึกหัดการพิมพ์ไทย ทำให้หลายคนสะดุ้งเวลาเห็น ประทับใจที่ผมพิมพ์ได้ เขาคิดว่าผมเก่งแต่ความจริงแล้วผมบังคับตัวให้เรียนวิธีพิมพ์เพราะขี้เกียจเขียนโดยใช้ลายมือมากกว่า ประหยัดเวลาด้วย
ขั้นตอนต่อไปคือแทนที่จะร่างเป็นภาษาอังกฤษก่อน ผมก็เลยคิดเป็นไทยและก็เขียนเป็นไทย ในที่สุดใช้เวลาประมาณสองชั่งโมงเพื่อเขียนคอลลัมน์ซึ่งเป็นเวลาพอ ๆ กับเวลาที่ผมใช้เมื่อเขียนบทความเป็นภาษาอังกฤษ
โปรดฟังอีกครั้ง สิ่งเดียวที่ทำให้ผมเก่งการเขียนคือการเขียนป็นประจำ และ นี่คือสิ่งที่ผมอยากให้คุณทำโดยเขียนบันทึกข้อความประจำวัน
       ลองหาซือสมุดเขียนราคาถูก และขอเริ่มต้นโดยเขียนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคุณ ช่วงแรกไม่เกิด 4 หรือ 5 บรรทัดครับ น่าจะใช้ไม่เกิด 15 นาที อย่างเช่น
สมมติว่าวันนี้คุณตื่น 6 โมง
เช้า ไปทำงาน อาหารมื้อกลางคืนก็กินส้มตำไก่ย่าง ช่วงบ่ายก็ประชุม ตอนเย็นไปออกกำลังกายโดยวิ่ง เสร็จแล้วดูหนังกับแฟน คุณก็อาจเขียนว่า
Today I woke up at 6 am. I went to work. I ate somtam and kaiyang for lunch. In the afternoon I had a meeting. After work I went jogging and then met my girlfriend. We watched a movie together.
       นี่คือสิ่งที่คุณเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ก่อนนอนครับ สังเกตไหมครับว่า เนื่อวจากว่าทุกสิ่งที่คุณทำได้ผ่านไปแล้ว คุณก็ต้องเขียนเป็นอดีตกาล คือ ต้องเปลี่ยนกริยาทุกกริยาให้เป็น past tense หรือ อดีตกาล (woke, went, ate, had, met, watched) พยายามใส่ใจเรื่องนี้สักหน่อย
การบรรทึกนี้ไม่จำเป็นให้ใครดู ก็เลยใช้โอกาสระบายความทุกอย่างที่ผมทำกับ diary ผมทุกวัน
แต่ถ้าเขียนอย่างที่ผมยกตัวอย่างในทวงทำนองที่แห้ง ๆ นั้นอีกไม่นานจะเริ่มรู้สึกเบื่อ ๆ ดังนั้นเนื่องจากว่าไม่มีใครจะอ่านแล้วก็ … ลองเขียนความรู้สึกด้วยเช่น
Today work was so boring! The boss was very obnoxious! At lunch I ate noodles by myself. The waitress was very beautiful and I fell in love with her. I think I will buy her flowers tomorrow.
นี่น่าสนใจมากกว่า! เขียนว่า งานมันน่าเบื่อ เจ้านายก็งี่เง่า (obnoxious = งี่เง่า กวนเท้า)  กินกว๋ยเตี๋ยวคนเดียว ปิ๊งเด็กเสริฟ
สังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ พอถึงประโยคสุดท้ายที่เขียนว่า คิดจะซื่อดอกไม้ให้เธอในวันพรุ่งนี้ ก็เนื่องจากว่าไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนในรูปอดีตกาล เพราะเป็นความคิดเดียวนี้ (I think …) เกี่ยวกับสิ่งที่คิดจะทำในอนาคต (I will buy her flowers).
บางคนอาจกังวลว่า ถ้าไม่ให้ใครอ่าน หรือแก้ เราจะพัฒนาได้อย่างไร กรุณากลับไปดูจุดประสงค์ของเราในการเขียนทุกวัน นั่นคือ เพื่อมีประสบการณ์เป็นประจำในการเขียนภาษาอังกฤษ แค่นี้ครับ ผิดหรือถูก ช่างมันเถอะ ขอให้เขียนดีเท่าที่สามารถเขีบนได้โดยใส่ใจเรื่องอดีตกาลหน่อย
สังเกตไหมว่าโครงสร้างประโยคที่ผมใช้ในตัวอย่างก็ง่ายมาก ผมอยากให้คุณเขียนอย่างนี้ครับ เริ่มต้นกับประโยคง่าย ๆ ประธาน-กริยา-กรรม และพอเริ่มคุ้นเคยกับโครงสร้างนั้นก็ทดลองกับคำศัพท์หรือวลีใหม่ ที่คุณได้จากการอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน การที่ได้ยินจากหนังหรือรายการทีวีภาษาอังกฤษที่คุณดูทุกวัน  แม้จากเพลงที่คุณร้องตามก็ตาม
ถ้าคุณทำตามคำแนะนำนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมเมื่อปี 2536 จะเกิดขึ้นกับคุณ นั่นหมายถึง การที่จะใช้กริยาในรูปอดีตกาลนั้นจะเริ่มติด คุณจะแปรรูปกริยาโดยไม่รู้ตัว เหมือนธรรมชาติ ไม่ต้องคิดก่อน อีกอย่างหนึ่ง (และนี่สำคัญ) คุณจะเริ่มเขียนภาษาอังกฤษให้เก่งขึ้นโดยไม่รู้ตัว นั่นเป็นเพราะว่าการเขียนทุกวัน ๆ นั้นทำให้เราทักษะการเขียนดีขึ้นทีละเล็กละน้อยโดยที่อาจไม่รู้เองว่าเก่งขึ้นครับ ถ้าไม่เชื่อ ทำตาขั้นตอนนี้สิครับ
1. ลองเขียนทุก ๆ วันเป็นเวลานึ่งเดือนก่อนนอน วันละสี่บรรทัด
2. ในเดือนที่สองให้เพิ่มเป็นห้าหรือหกบรรทัด
3. ในเดือนที่สามขอวันละ เจ็ด บรรทัด
4. พอครบสามเดือน กลับไปอ่านสิ่งที่คุณเขียนในวันแรกเมื่อสามเดือนที่แล้ว และเปรียบเทียบกับวันล่าสุด สิ่งที่คุณจะเห็นจะทำให้คุณทั้งตกใจและดีใจ

5. English Friend
ผมเคยพูดมาหลายปีแล้วว่า มีทั้งหมด 5 วิธีที่จะเก่งภาษาอังกฤษ ซึ่ง 5 วิธีนั้นมีดังนี้ครับคือ
1. ฝึก
2. ฝึก
3. ฝึก
4. ฝึก
5. หาแฟนเป็นฝรั่ง
พอพูดเคล็ดลับนี้มาหลายปีแล้ว หลัง ๆ ก็ไม่ค่อยได้ใช้มุขนี้เนื่องจากว่า 1. ฝืด และ 2. รู้สึกไม่อยากจะให้คนไทยทรมานตัวเองโดยคบแฟนเป็นฝรั่ง เพราะแฟนฝรั่งไม่น่ารักเท่าแฟนไทย ตัวใหญ่เกินไป พูดเสียงดัง งอนกับง้อไม่เป็น จะไม่หึงหวงเท่าแฟนไทย และรักเดียวใจเดียวซึ่งถือว่าเป็นข้อเสียเมื่อคุณเริ่มเบื่อฝรั่งคนนั้นและอยากทิ้งเขาเพราะเขาจะไม่ยอมไปง่าย ๆ เนื่องจากว่ารักเพียงเธอคนเดียว ...
       สมัยนี้ผมเปลี่ยนข้อ 5 เป็น
       5. หาเพื่อนเป็นฝรั่ง
       นี่มันง่ายกว่า ปลอดภัยกว่า สามารถคบแฟนเป็นคนไทยอย่างที่สังคมชอบ แต่ในขณะเดียวกันหาเพื่อนชาวต่างชาติ วัยเดียวกัน เพศเดียวกันก็ได้ เพราะจะได้ประโยชน์หลายอย่างคือ ฝึกอังกฤษแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องเสียงเงินเป็นชั่วโมงเหมือนที่คุณจ้องทำที่สถาบันฝึกภาษา (หรือกับชาวต่างชาติที่ใส่ชุดกระโปรงสั้น สูบบุหรี่ ใส่เครื่องสำอางหนาไปหน่อยที่รอปากซอยนานาทุกเที่ยงคืน ได้ข่าวว่าพวกนี้ต้องจ่ายเป็นชั่วโมงเหมือนกัน)
       มันคงไม่ง่ายขนาดนั้นที่จะหาเพื่อนเป็นฝรั่ง มีอยู่หลายปัจจัยที่ทำให้คุณไม่สามารถคบได้เช่น คุณคุยภาษาอังกฤาไม่เก่ง หน้าตาฝรั่งคนนั้นจืด ๆ บ้านอยู่ห่างจากชาวต่างชาติมากพอสมควร (แต่เท่าที่ผมเห็นตอนนี้ต่างจังหวัดฝรั่งกระจ่ายไปไทั่ว จนแถวภาคอีสานมีแต่ผู้หญิงไทยที่สามารถทำกับข้าวได้หลายอย่าง รวมถึง ส้มตำ ลาบ ไก่ย่าง พิซซ่า และ แฮมเบอร์เกอร์)
       ที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฝรั่งเพื่อเก่งภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีความพยายามนะ
ผมขอแนะนำโครงการหนึ่งของผมที่มีชื่อว่า “โครงการตั้งวงเล่าภาษาอังกฤษ” ไม่เกี่ยวกับสุรานะครับ และคุณสามารถเข้าโครงการนี้ได้ โดยมีขั้นตอนอย่างนี้ครับคือ
1. หาเพื่อน สมาชิกครอบครัว หรือใครก็ได้ที่เป็นคนไทยที่อยู่ใกล้ชิดกับคุณ ที่เจอกันทุกวัน ต้องเป็นคนที่คุณสมิท และไว้ใจได้ ไม่เกินสองคนตอนแรก แต่เพียงหนึ่งคนก็ดี
2. กำหนดเวลาที่จะนัดเจอกันทุกวัน อาจเป็นพักเที่ยง หรือกลางคืนที่บ้านก็ได้
3. เริ่มจากเวลานั้นเป็นต้นไป ให้พูดภาษาอังกฤษอย่างเดียว ภาษาอังกฤษล้วน ไม่มีภาษาไทยหลุดจากปาก ผิดหรือถูกก็ช่างมันเถอะ จุดประสงค์คือเพิ่มทักษะและประสบการณ์ในการพูดภาษาอังกฤษ อย่างน้อยวันละ 20 นาที เมื่อครบหนึ่งเดือนเพิ่มเป็นการสนทนาวันละ 30 นาที
ทำอย่างนี้เป็นเวลาสามเดือน รับรองวันแรกก็บ้า ๆ บอ ๅ เขิน ๅ แต่นี่คือสิ่งที่ดีนะครับ อยากให้เป็นสิ่งตลก ๆ ที่ทำให้คุณหัวเราะทุกครั้ง ถ้าทำอย่างนี้ทุกวันก็รับรองจะเห็นหลังสามเดือน
ผมตั้งหน้าเฟสบุ๊คชื่อ “โครงการตั้งวงเล่าภาษาอังกฤษ” ไปที่หน้านั้นและก็ลงทะเบียน จะได้พบกับกลุ่มอื่นที่ทำอย่างนี้ครับ อาจได้เพื่อนใหม่ด้วย ไชโย